1 ความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย หอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต | Satisfaction and Requirement of Using Information Services for Researching in Phuket Rajabhat University Library | วารีรัตน์ จะรา | PULINET Journal

ความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย หอสมุด มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต | Satisfaction and Requirement of Using Information Services for Researching in Phuket Rajabhat University Library

วารีรัตน์ จะรา, มาลิน เสงี่ยมกุล, อุไร การวิจิตร

Abstract


            การศึกษาเรื่องความพึงพอใจและความต้องการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย หอสมุด  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย 2) ศึกษาความต้องการของผู้ใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย 3) ศึกษาปัญหาการใช้บริการของผู้ใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลภายนอก จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านผู้ให้บริการ ด้านการบริการ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านครุภัณฑ์และอุปกรณ์ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ผู้ใช้บริการ มีความพึงพอใจต่อความสุภาพกับผู้ใช้บริการมากที่สุด และพึงพอใจต่อประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการสืบค้นน้อยที่สุด

          ความต้องการของผู้ใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยทุกข้อโดยรวมอยู่ในระดับมาก   เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความต้องการทรัพยากรสารสนเทศ ประเภทผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์มากที่สุด และมีความต้องการใช้บริการขอหมายเลข ISBN ของหนังสือน้อยที่สุด

          ปัญหาการใช้บริการสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าและวิจัยของผู้ใช้บริการทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ด้านครุภัณฑ์และสิ่งแวดล้อม ด้านการบริการ ด้านผู้ให้บริการ เมื่อวิเคราะห์เป็นรายข้อ พบว่า สิ่งที่ผู้ใช้บริการเห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุดในการใช้บริการ คือ ผลงานวิจัยที่ต้องการไม่สามารถยืมออกนอกหอสมุดได้ และเห็นว่าเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และความชำนาญ เป็นปัญหาน้อยที่สุด


Full Text:

PDF

References


เกวลี จันทร์ต๊ะมา. (2549). การประเมินคุณภาพบริการของห้องสมุดโดยใช้ LibQUAL+TM : กรณีศึกษาหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ขวัญใจ ชื่นชอบ. (2538, กุมภาพันธ์-เมษายน). “คุณภาพของงานบริการตอบคำถาม”. ข่าวสารหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 17 (9) : 39-47.

จินตนา เกสรบัวขาว. (2542). บริการของห้องสมุด. กาญจนบุรี : โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และ สารนิเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี.

เฉลิมศักดิ์ ชุปวา. (2534). การศึกษาปัญหาและความต้องการในการใช้บริการห้องสมุดของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธิ์. (2536). “การบริการสารนิเทศสมัยใหม่ : แนวคิดและข้อสังเกต”, ใน เอกสารวิชาการ จัดพิมพ์เนื่องในการประชุมวิชาการประจำปี 2536 สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. หน้า 2-5. กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย.

วิษณุพงษ์ สงวนสัจพงษ์. (2547). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการด้านการทะเบียนของกรมการปกครอง : กรณีศึกษาสํานักทะเบียน อําเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศศี คุ้มสุข. (2549). ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาในงานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com