1 การจัดการสารสนเทศดิจิทัลชุดวิชา ตำรา มสธ. | Digital Information Management for STOU Superseded Textbooks | ชลลดา หงษ์งาม | PULINET Journal

การจัดการสารสนเทศดิจิทัลชุดวิชา ตำรา มสธ. | Digital Information Management for STOU Superseded Textbooks

ชลลดา หงษ์งาม

Abstract


สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของชุดวิชาหรือตำราเรียนของ มสธ. ที่ประกอบไปด้วย เอกสารการสอนชุดวิชา แบบฝึกปฏิบัติชุดวิชา ประมวลสาระชุดวิชาและแนวการศึกษาชุดวิชา ฉบับพิมพ์ครั้งแรก  ซึ่งเป็นภูมิปัญญา มสธ. ที่มีคุณค่าทางวิชาการอย่างมาก แม้ไม่ได้ใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่นับเป็นตำราในระดับอุดมศึกษาสำหรับการเรียนทางไกล เป็นนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ที่เกิดจากคณาจารย์ นักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิในศาสตร์ต่างๆ สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช จึงได้พัฒนาคลังปัญญา ตำรา มสธ. เพื่อเป็นแหล่งบริการ เผยแพร่และอนุรักษ์สารสนเทศภูมิปัญญาทางวิชาการของ มสธ. รองรับการศึกษาค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต โดยขั้นตอน 1) จัดเก็บภูมิปัญญาทางวิชาการของ มสธ. ฉบับเต็มที่เป็นเอกสารการสอนชุดวิชา แบบฝึกปฏิบัติชุดวิชา ประมวลสาระชุดวิชา และแนวการศึกษาชุดวิชา ฉบับพิมพ์ครั้งแรก และได้รับการปรับปรุงชุดวิชาดังกล่าวแล้ว ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) จัดการสารสนเทศดิจิทัล โดยใช้หลักการความรู้ทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ในการสร้างระเบียนทรัพยากรสารสนเทศด้วยมาตรฐาน MODS (Metadata Object Description Schema) ในการพรรณาวัตถุสารสนเทศดิจิทัล และมาตรฐาน METS (Metadata Encoding and Transmission Standard) ในการระบุและจัดการสารสนเทศดิจิทัลในฐานข้อมูลที่เผยแพร่บนเว็บ โดยใช้โปรแกรม Greenstone Digital Library (GSDL) 3) ออกแบบเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึงและเชื่อมโยงเนื้อหาสารสนเทศดิจิทัล และ 4) เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การใช้งานคลังปัญญา ตำรา มสธ.โดยนับตั้งแต่เริ่มโครงการคลังปัญญา ตำรา มสธ. เมื่อปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน มีชุดวิชา มสธ. ในฐานข้อมูล จำนวน 500 รายการ โดย 1 ชุดวิชา จะประกอบไปด้วยภาพหน้าปก(ไฟล์ .JPG) และเนื้อหาฉบับเต็ม(ไฟล์ .PDF)

The Office of Document and Information, Sukhothai Thammathirat Open University, gives precedence to superseded editions of University’s textbook, workbooks and guides. All of which was deliberately edited by experts to be an invaluable collection in the distance-learning system. The Office of Document and Information initiated a project to build a digital library of superseded editions of the University’s textbook, workbooks and guides. The project aims to digitize and preserve the University’s most notable set packages in the distance-learning system. These superseded editions are in printed paper format. GSDL was used to create the digital library, which was based upon two important standards: MODS (Metadata Object Description Schema) and METS (Metadata Encoding and Tranmission Standard). The digital library can be accessible via the internet to the public.Having been originated since 2010, STOU Superseded Textbooks database contains 500 items of STOU textbooks. Each of which comprises .JPG file of its cover and .PDF file of its full text


Full Text:

PDF

References


นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์, อำนาจธรรมกิจ. (2549). Metadata : คู่มือการใช้มาตรฐาน MADS สำหรับการพรรณนาชื่อหรือคำแทนสารสนเทศในห้องสมุดดิจิทัล.นนทบุรี :สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์, อำนาจธรรมกิจ.(2549).Metadata : คู่มือการใช้มาตรฐาน MODS และ METS สำหรับการพรรณาและจัดการสารสนเทศในห้องสมุดดิจิทัล. นนทบุรี :สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมพร พุทธาพิทักษ์ผล และคนอื่น ๆ. (2548).โครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบแหล่งสารสนเทศดิจิทัลสู่ห้องสมุดชุมชน: รายงานการวิจัย.นนทบุรี: สำนักบรรณสารสนเทศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com