1 พฤติกรรมการค้นคว้าข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน | Research Data Behaviour on Internet Network, Case Study : Student University Technology Lanna Nan area | พัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง | PULINET Journal

พฤติกรรมการค้นคว้าข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่น่าน | Research Data Behaviour on Internet Network, Case Study : Student University Technology Lanna Nan area

พัชราภรณ์ หงษ์สิบสอง, นันทา เติมสมบัติถาวร

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นคว้าข้อมูล (2) เป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 323 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test โดยวิธีการของ Scheffe พบว่า

1. นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศชาย สาขาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ สังกัดคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งอินเทอร์เน็ตใช้ส่วนตัว โดยเริ่มใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตตั้งแต่อายุ 13 – 15 ปี มีความถี่ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต 1 – 2 ครั้งต่อวันและใช้บริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตวันละ 1 – 2 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่นิยมใช้คือช่วงเย็น สำหรับสถานที่ในการใช้อินเทอร์เน็ตคือบ้านพักหรือที่พัก

2. นักศึกษามีจุดประสงค์การใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณารายด้านและรายข้อไม่แตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อมูลที่ถูกค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต เมื่อพิจารณารายข้อไม่แตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5  ข้อมูลที่ถูกค้นคว้ามากที่สุดคือข้อมูลด้านการศึกษา และข้อมูลด้านบันเทิง

4. เว็บไซต์ที่เข้าใช้บริการบ่อยที่สุดเมื่อพิจารณารายข้อไม่แตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงเข้าใช้บริการเว็บไซต์ Google  มากที่สุด

5. ความพึงพอใจในการเข้าใช้อินเทอร์เน็ตโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิงต่างคิดว่าการใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวัน

6. ปัจจัยที่ทำให้ไม่อยากเข้าใช้อินเทอร์เน็ต ไม่แตกต่างกันระหว่างเพศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

The purposes of this research were 1) To study the behavior of the Internet toresearch students. 2) As a way to change the behavior of students using the Internet, the populations and the sample were 323. The requirements which were used in data collection were questionnaires and statistical analysis by using percent, mean, standard deviation, t-test independent, and scheffe’s

The results of this research were as follows:

1)Most students are male students. Field of computer information systems.Under the Faculty of Business Administration and Liberal Arts.Computer science is the Internet for personal use. Starting the computer and Internet age 13-15 years. The frequency of the computer and the Internet 1-2 times per day, and use computers and the Internet each day 1-2 hours at a popular evening.

2) Students intended to use the Internet.When focusing on the item and no difference between gender statistically significant at the .05.

3)Information is the Internet research. Based on item no difference between gender statistically significant at 0.5, Research data was the most educational information and entertainment.

4) Site access most frequently overall No difference between gender statistically significant at the .05. The students, male and female students to use Google sites as possible.

5) Satisfaction with access to the Internet .No difference between gender statistically significant at the .05.The students, male and female students thought that the use of various Internet services are important to everyday life.

6) Factors that cause I do not want to use the Internet.No difference between gender statistically significant at the .05 level, which is not in the hypothesis set.


Full Text:

PDF

References


ทยาพร ร่มโพธิ์. 2551.การศึกษาพฤติกรรมในการใช้อินเทอร์เน็ตของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชาอุทิศ (จันทาบอนุสรณ์).(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก : http://school.bangkok.go.th/prachautid/vijai_teach.htm.

นงนุช พรหมวีระไชย, ประชุมพร ชัยศรี. 2552. รายงานการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีผลต่อการรับรู้ข้อมูลสารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.

นิตยา เจรียงประเสริฐ, อรุณี อินทไพโรจน์. 2545. ระบบสนับสนุนการบริหาร (Management SupportSystrm, MSSs) เชียงใหม่ : คณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรรณี สวนเพลง. 2552. เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุชาดา มวยมั่น. 2548. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.2552. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตทางที่ผิดของนักศึกษามหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :http://202.183.233.75/~trang/main/index.php/181-2009-06-05-11-26-23


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com