1 ความคุ้มทุนของทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | Cost Effectiveness of Information Resources of the Center for Library and Educational Media, Walailak University | อาภรณ์ ไชยสุวรรณ | PULINET Journal

ความคุ้มทุนของทรัพยากรสารสนเทศของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | Cost Effectiveness of Information Resources of the Center for Library and Educational Media, Walailak University

อาภรณ์ ไชยสุวรรณ, บุญเพ็ญ ชูทอง, จริยา รัตนพันธุ์

Abstract


การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์งบประมาณการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศกับอัตราการใช้2)  วิเคราะห์ความคุ้มทุนของการลงทุนในทรัพยากรสารสนเทศศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์โดยการศึกษานี้จะดำเนินการศึกษาหนังสือที่ห้องสมุดอนุญาตให้ยืมออกได้ผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WalaiAutoLibที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจัดหาในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2552-2554เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลนับความถี่ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการใช้

ผลการศึกษา พบว่าเมื่อพิจารณางบประมาณค่าหนังสือที่ใช้ไปกับการจัดซื้อหนังสือทั้ง 3 ปีงบประมาณ พบว่างบประมาณในปี 2554 มีสัดส่วนการใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 95 แต่เมื่อเทียบจำนวนงบประมาณการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ ในปี 2555 มีสัดส่วนที่ลดลงจากปีงบประมาณ 2554 ร้อยละ 131.50  และพบว่าจำนวนหนังสือที่จัดซื้อทั้ง 3 ปีงบประมาณนั้นสอดคล้องกับงบประมาณในการจัดซื้อดังนี้  ในปีงบประมาณ 2554 จำนวนหนังสือที่จัดซื้อมากกว่าจำนวนหนังสือที่จัดซื้อในปี 2553 และจำนวนหนังสือที่จัดซื้อในปี 2555 จะมีจำนวนน้อยกว่าหนังสือที่จัดซื้อในปี 2554

เมื่อพิจารณางบประมาณค่าหนังสือที่ใช้ไปปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2555 กับการใช้ในภาพรวม พบว่า งบประมาณค่าหนังสือที่ใช้ไปเป็นเงิน 14,066,512.42 บาท จัดหาหนังสือได้ทั้งหมด 15,888 เล่ม ราคาเฉลี่ยต่อเล่มเป็นเงิน 885.35 บาทต่อเล่ม มีจำนวนการใช้ทั้งหมด 73,842 ครั้ง โดยมีอัตราเฉลี่ยการใช้ 4.65 ครั้งต่อเล่มแสดงให้เห็นว่าใช้หนังสือที่มีการจัดหามานั้นมีการใช้คุ้มทุนกับจำนวนหนังสือที่ได้มีการจัดซื้อ แต่หากคิดเป็นค่าใช้จ่ายต่อการใช้  คิดเป็นมูลค่า 190.49 บาทต่อการใช้ 1 ครั้ง ดังนั้นหากศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาจะต้องหาวิธีการลดมูลค่าของการใช้งานแต่ละครั้งให้น้อยลงเรื่อย ๆ โดยจะต้องหาวิธีการในการส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีการใช้ประโยชน์จากหนังสือที่มีการเสนอแนะให้มีการจัดซื้อมากขึ้น  รวมทั้งจะต้องพยายามศึกษาเชิงลึกในด้านการใช้งานจากวิธีการอื่น ๆ นอกเหนือจากการยืมผ่านระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

Full Text:

PDF

References


คณะกรรมการนโยบายการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2551). รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินและทรัพย์สิน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ครั้งที่ 3/2551.นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ณรงค์ ป้อมบุบผา. (2549).เอกสารประกอบการสอนวิชา 1202231 การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ(พิมพ์ครั้งที่ 2).มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พวา พันธุ์เมฆา. (2541). สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงเทพ.

ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. (2553). รายงานประจำปีเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2553.นครศรีธรรมราช : ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สุเพ็ญ ทาเกิด และคณะ. (2543). เกณฑ์การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ : ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2555).ประกาศ เรื่อง มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2544. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อุทัย ทุติยะโพธิ. (2541). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพยากรสารนิเทศในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ หน่วยที่ 1-8 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com