การใช้ประโยชน์จากบริการรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดต่างๆ ต่อการพัฒนาคอลเลคชันและบริการเชิงอ้างอิง : กรณีศึกษาสาขาการเกษตร ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ | Utilization of New Books Service for Collection Development and Referral Service : A Case study of agricultural books of Maejo University Library
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงรายการหนังสือใหม่สาขาการเกษตร (2) เพื่อศึกษาการนำข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่ไปใช้งานวิเคราะห์และทำรายการ (3) เพื่อประเมินทรัพยากรสารสนเทศสาขาเกษตรศาสตร์รายชื่อใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินการรวบรวมข้อมูลประชากรคือรายการบรรณานุกรมรายชื่อหนังสือใหม่จากจากห้องสมุดสถาบันอุดม 14 แห่งผลการวิจัยพบว่า
1. ฐานข้อมูลเชิงอ้างอิงรายชื่อหนังสือใหม่สาขาการเกษตร มีข้อมูลทั้งสิ้น 1,316 รายชื่อ บริการด้วยโปรแกรม Ulibm ณ เว็บไซต์ http://library.mju.ac.th:8080/agtxt/
2. การนำข้อมูลไปใช้ในโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon ผ่านมาตรฐาน ISO-2709 สามารถกระทำได้ มีข้อดีในด้านการลดภาระงาน ความรวดเร็ว และคุณภาพข้อมูล มีปัญหาเชิงคุณภาพของข้อมูลในด้าน รูปแบบข้อมูลตามมาตรฐาน MARC การลงรายการตามหลักการทางบรรณารักษศาสตร์ และรูปแบบการพิมพ์
3. การประเมินรายชื่อหนังสือใหม่เปรียบเทียบระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้กับห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เกี่ยวกับ หนังสือใหม่ที่จัดหาได้ หนังสือซ้ำรายการ หนังสือที่หาได้เฉพาะแห่งการประเมินรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดต่างๆ ในภาพรวม เกี่ยวกับจำนวนหนังสือใหม่ที่เพิ่มขึ้น รายชื่อหนังสือใหม่ที่ไม่มีในห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ การกระจายหนังสือยังห้องสมุดต่างๆ และปีพิมพ์ของหนังสือ
The purposes of this study were (1) to create referral database of agricultural new books (2) to study the usage of new book bibliographic data in cataloging (3) to evaluate Maejo University new book collection. Bibliographic data of new books from 14 libraries was collected. The results were as follows:1. The database was created and was presented at http://library.mju.ac.th:8080/agtxt. It consisted of 1,316 titles based on Ulibm library software.
2. Transfer of new book data to Horizon database using ISO-2709 format is well done with the pros of reducing librarian task, work time, and increasing data quality. Some data quality problems were found concerning the areas of MARC format, cataloging data, and typing format.
3. Evaluation new books statistics between Maejo University Library and Kasetsart University Library were analyzed on new book quantity, duplicated titles, and uniqued titles provided only its library. Evaluation new books statistics between 14 Libraries were analyzed on new book quantity, books that unavailable in Maejo University Library, new books received in libraries, and imprinted year of new books.
Full Text:
PDFReferences
ประภาวดี สืบสนธิ์. 2533. “การประเมินทรัพยากรสารนิเทศที่จัดหา”. การพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ : เอกสารการสอน. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประยงศรี พัฒนกิจจำรูญ. 2533. “กระบวนการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ” การพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ : เอกสารการสอน.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Jasco, Peter. 1997. “Content evaluation of databases”. Annual Review of Information Science and Technology 32 : 231-267.
Rajendiran, P., Parihar, Y. S. and Deshpande, Arati U. 2007. “Automated bibliographic record capturing from web OPAC and online bibliographic database for library cataloguing in LibSys”.Annals of Library and Information Studies. V. 54 (September) : 140-145.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com