1 การเพิ่มสถิติการยืมหนังสือด้วยทฤษฎีการตลาดหางยาว | Circulation Stats Increasing with Long Tail Marketing Theory | ธนะพันธุ์ การคนซื่อ | PULINET Journal

การเพิ่มสถิติการยืมหนังสือด้วยทฤษฎีการตลาดหางยาว | Circulation Stats Increasing with Long Tail Marketing Theory

ธนะพันธุ์ การคนซื่อ

Abstract


        ห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำทฤษฎีการตลาดหางยาวมาใช้ในการส่งเสริมการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มสถิติการให้บริการยืมหนังสือ และส่งเสริมให้หนังสือที่มีสถิติการใช้น้อยหรือไม่มีการใช้ได้ถูกยืมมากยิ่งขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสถิติการยืมหนังสือตามแนวคิดทฤษฎีการตลาดหางยาวมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยได้นำหลักการ ADLI ตามแนวทางเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ EdPEx มาใช้ในการควบคุมคุณภาพของกระบวนการทำงานดังกล่าว ซึ่งมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้ 1) Approach การวางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงานที่เป็นระบบ (Systematic approach) กำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ตัวชี้วัด กระบวนการ (Work process) และกระบวนการย่อย (Sub process) 2) Deployment ดำเนินงานส่งเสริมสถิติการยืมหนังสือโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการตลาดหางยาว ได้แก่ การจัดกิจกรรมยอดนักอ่าน การประชาสัมพันธ์หนังสือใหม่ การจัดนิทรรศการแนะนำหนังสือ การแนะนำหนังสือที่มีการใช้น้อยและไม่มีการใช้ กิจกรรมสมัครสมาชิกใหม่ กิจกรรมแจ้งเตือนกำหนดคืนทรัพยากรสารสนเทศ และการจัดชั้นหนังสือที่ส่งเสริมการยืม 3) Learning ทบทวนและประเมินผลกระบวนการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และ 4) Integration บูรณาการการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ และวัตถุประสงค์ของการดำเนินการร่วมกันตามที่กำหนดไว้

        จากการใช้ทฤษฎีหางมายาวมาใช้ในการส่งเสริมการยืมหนังสือและใช้หลัก ADLI มาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานทำให้สถิติการยืมหนังสือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-ปัจจุบัน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการประเมินสถิติการให้บริการยืมหนังสือที่มีการยืมและไม่มีการยืมของห้องสมุดคณะสัตวแพทยศาสตร์ ทำให้ทราบถึงหนังสือรายชื่อใด ที่มีการใช้มากหรือใช้น้อย รวมถึงได้วิธีการในการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมให้มีการยืมหนังสือ และแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพต่อไป


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com