การรับรู้และความต้องการใช้บริการ Mobile Telepresence Robotics ของประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | Perceptions and Expectation in Mobile Telepresence Robotics Service of Chulalongkorn University Community
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาการรับรู้และความต้องการของประชมคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการใช้งาน Mobile Telepresence Robotics (MTR) ประกอบไปด้วย ด้านระบบการทำงาน ด้านทักษะความรู้ความสามารถของบรรณารักษ์ในการให้บริการโดย MTR ด้านการใช้งานและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อห้องสมุด ด้านความต้องการการใช้งาน MTR ในห้องสมุด และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่มีต่อระบบการให้บริการ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนางานบริการภายในห้องสมุดในอนาคต การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ใช้บริการห้องสมุด คณะผู้บริหารห้องสมุด และผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด จำนวน 387 คน ระหว่างวันที่ 3-14 กันยายน 2561
ผลการศึกษาการรับรู้และความต้องการใช้บริการ MTR ของประชาคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาพรวมพบว่าผู้รับบริการจำนวน 242 คน คิดเป็นร้อยละ 62.53 มีการรับรู้และมีความต้องการใช้บริการ MTR ในระดับมาก รองลงมา 81 คน (ร้อยละ 20.93) มีความต้องการบริการระดับปานกลาง และจำนวน 64 คน (ร้อยละ 16.54) มีรับรู้และมีความต้องการใช้บริการในระดับน้อย
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com