1 Live and Learn Library Tour : เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง | Live and Learn Library Tour : Learning to practice | ชมพูนุช สราวุเดชา | PULINET Journal

Live and Learn Library Tour : เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง | Live and Learn Library Tour : Learning to practice

ชมพูนุช สราวุเดชา, เพียงขอบฟ้า ปัญญาเพ็ชร, มัณทะณี คำโพธิ

Abstract


ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้นำกระบวนการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนากระบวนการจัดบริการนำชมห้องสมุดให้แก่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้ขอเยี่ยมชมจากหน่วยงานอื่นๆ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดบริการนำชมห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีประสิทธิภาพ และพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำชมห้องสมุดที่มีมาตรฐานเดียวกัน ตลอดจนเพื่อสร้างแนวปฏิบัติที่ดีในการให้บริการนำชมห้องสมุดโดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานประกอบด้วย การวางแผนการจัดบริการนำชม การเตรียมความพร้อมของผู้ปฏิบัติงานในการเป็นผู้นำชม การแบ่งกลุ่มผู้เยี่ยมชมห้องสมุด การนำชมห้องสมุด และการประเมินผลการให้บริการผลจากการดำเนินงานดังกล่าวทำให้ห้องสมุดสามารถให้บริการนำชมห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้รับบริการมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองตลอดจนใช้ประโยชน์ของห้องสมุดได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ห้องสมุดอื่นๆยังสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการจัดบริการนำชมห้องสมุดได้อีกด้วย

Medical library, Chiang Mai University has been utilizing knowledge management process as a tool to develop the library tour service for students and visitors from other institutes. The objectives of implementing knowledge management process in library touring are to provide the efficiency of library tour service, enhance the ability of library staffs in guiding and create the best practice for library tour service. From our past experiences, the knowledge management process consists of 1) Planning the library tour service. 2) Training the staffs. 3) Dividing visitors into groups. 4) Performing the library tour and 5) Evaluating the service provided. The results of combining knowledge management process in library tour proved that users have gained essential knowledge and understanding on information resources accessment and services of Medical library which improve the self-learning and use all information resources effectively. Notably, the model can be used by other libraries to enhance their library tour service as well.


Full Text:

PDF

References


จินดา จำเริญ. (2532). การสอนการใช้ห้องสมุด.บรรณารักษศาสตร์ มข., 8(1), 13-30.

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2555). วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย. สืบค้นจาก

http://library.cmu.ac.th/cmul/th/content/vision-mission-goals

ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556). ประวัติความเป็นมาห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์.

สืบค้นจาก http://www.med.cmu.ac.th/library/about/


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com