นวัตกรรมการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย: จากการจัดการความรู้ (KM) สู่จดหมายเหตุดิจิทัล (Digital Archives) | University Archives Dissemination Innovation: From KM to Digital Archives
Abstract
สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชดำเนินการจัดการความรู้ เรื่อง การจัดการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยในรูปหนังสือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดเก็บองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจากการร่วมกันฝึกปฏิบัติ และเพื่อสร้างนวัตกรรมการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นบริการจดหมายเหตุดิจิทัลในรูปแบบใหม่ โดยดำเนินงานตามกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่มี 5 ขั้นตอนสำคัญ คือ 1.การกำหนดประเด็นความรู้ 2.การกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย 3.การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4.การรวบรวมความรู้ และ 5.การนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งผลที่ได้จากการจัดการความรู้ทำให้ได้คู่มือปฏิบัติงานที่รวบรวมองค์ความรู้ด้านการจัดการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยในรูปหนังสือจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ได้แนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมฝึกปฏิบัติ รวมถึงได้เผยแพร่ประสบการณ์และองค์ความรู้ในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การแบ่งปันไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 74 คน การจัดกิจกรรมการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาดูงาน จำนวน 4 กิจกรรม และการเขียน Blog จำนวน 4 เรื่อง ที่สำคัญได้นวัตกรรมการเผยแพร่สารสนเทศจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยในรูปหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบริการจดหมายเหตุดิจิทัลแบบใหม่ ทำให้ผู้รับบริการเข้าถึงเอกสารจดหมายเหตุได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการใช้บริการในรูปดิจิทัล ช่วยกระตุ้นความสนใจในการใช้เอกสารจดหมายเหตุ และสามารถเผยแพร่สารสนเทศได้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับหน่วยงานจดหมายเหตุ ในระดับวงวิชาการ/วิชาชีพ ในระดับชุมชนและในระดับชาติ
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com