1 การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | Awareness Raising from Procurement Process Improvement according to Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560 for Chiang Mai University Library Staff | ขนิษฐา ไชยพันธุ์ | PULINET Journal

การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | Awareness Raising from Procurement Process Improvement according to Government Procurement and Supplies Management Act B.E. 2560 for Chiang Mai University Library Staff

ขนิษฐา ไชยพันธุ์, รุ้งสินี เขียวงาม, มานพ แก้วโมราเจริญ

Abstract


พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ได้มีผลบังคับใช้กับหน่วยงานของรัฐทั้งหมด รวมถึงมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560 ส่งผลให้ทางสำนักหอสมุดเริ่มทบทวนวิธีการ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และสร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุด งานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 สำหรับบุคลากรสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการศึกษาการรับรู้และเพิ่มความตระหนัก ได้ให้บุคลากรสำนักหอสมุดทั้งหมด 122 คน ทำแบบสอบถามทั้งหมดจำนวน 20 ข้อ โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบฮาร์วีบอล (Harvey Balls) พบว่า บุคลากรสำนักหอสมุดมีการรับรู้และความตระหนักโดยมีค่าเฉลี่ยเป็น 7.90 และเมื่อถ่ายทอดความรู้การจัดซื้อจัดจ้างให้แก่บุคลากรสำนักหอสมุดแล้ว ได้ให้บุคลากรสำนักหอสมุดทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 ซึ่งผลจากการวิเคราะห์การรับรู้และความตระหนัก พบว่า บุคลากรสำนักหอสมุดมีการรับรู้และความตระหนักโดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 10.84 ในส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ได้คัดเลือกกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับนำมาปรับปรุงกระบวนการทั้งหมด 6 กิจกรรม โดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP) เพื่อคัดเลือกกิจกรรม จากนั้นได้จัดทำสนทนากลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมที่คัดเลือก และวิเคราะห์กิจกรรมทั้งหมดที่นำมาปรับปรุงกระบวนการผ่านกรอบงาน SIPOC พบว่า บุคลากรสำนักหอสมุดเข้าใจกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจนขึ้น และลดขั้นตอนที่ซ้ำซ้อนของกระบวนการ โดยสำนักหอสมุดได้มีการเผยแพร่และนำกระบวนการที่ได้จากการปรับปรุงมาใช้เป็นแนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้าง และหน่วยงานอื่นสามารถนำแนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานได้



Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com