1 แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอนุบาล : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) | Development Guidelines for Reading Activity Promotion for the Kindergarten: Case Study of Satit School (Under the Partnership Between Kamphaeng Phet Primary Education Service Office Area 1 and Kamphaeng Phet Rajabhat University) | อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์ | PULINET Journal

แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอนุบาล : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิต (ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 1 กับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร) | Development Guidelines for Reading Activity Promotion for the Kindergarten: Case Study of Satit School (Under the Partnership Between Kamphaeng Phet Primary Education Service Office Area 1 and Kamphaeng Phet Rajabhat University)

อรุณลักษณ์ รัตนพันธุ์, รุ่งรุจี ศรีดาเดช, สายหยุด ฉิมพลี

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอนุบาล ผู้ให้ข้อมูลหลักในครั้งนี้ประกอบด้วย ครูประจำชั้นและครูผู้ช่วยระดับชั้นอนุบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน บรรณารักษ์ และนักศึกษา จำนวน 48 คนและผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการสอน การจัดกิจกรรมห้องสมุดและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในสถานศึกษา จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ปฏิบัติจริงทุกด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านรูปแบบการจัดกิจกรรม ด้านการใช้สื่อส่งเสริมการอ่าน และด้านคุณภาพของสื่อส่งเสริมการอ่าน เมื่อจำแนกรายข้อของแต่ละด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดพบว่า 1.1) ด้านการบริหารจัดการคือ มีการดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านด้วยตนเอง 1.2) ด้านบุคลากรคือ อาจารย์ประจำชั้น 1.3) ด้านระยะเวลาคือ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตลอดภาคเรียน 1.4) ด้านความถี่คือ มากกว่า 10 ครั้ง 1.5) ด้านช่วงระยะเวลาที่จัดกิจกรรมคือ ช่วงที่มีการเรียนการสอน 1.6) ด้านสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม คือ ในห้องเรียน/หน่วยงาน 1.7) ด้านรูปแบบการจัดกิจกรรม คือ เล่านิทาน และอ่านหนังสือให้ฟังมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน 1.8) ด้านการใช้สื่อส่งเสริมการอ่านคือ หนังสือนิทาน 1.9) ด้านคุณภาพของสื่อส่งเสริมการอ่านคือ มีความเหมาะสมกับระดับวัยของเด็ก 2) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากการจัดลำดับความถี่มากไปหาน้อยในแต่ละด้าน 4 ลำดับ พบว่า 2.1) ด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ 2.1.1) จัดกิจกรรมในรูปแบบฐานกิจกรรมและหมุนเวียนให้นักเรียนเข้าร่วมทุกฐาน 2.1.2) จัดกิจกรรมนอกสถานที่และหมุนเวียนไปยังโรงเรียนต่างๆ ในรูปของเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน 2.1.3) จัดกิจกรรมที่มีการใช้สื่อหรืออุปกรณ์อย่างง่ายเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อและทักษะต่างๆ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแสดงออก เช่น แสดงบทบาทสมมุติ ตัวละคร 2.1.4) จัดกิจกรรมให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม มีความร่วมมือกับโรงเรียนหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมร่วมกัน และมีการกระตุ้นและจูงใจในการสร้างนิสัยรักการอ่าน เช่น มอบรางวัล ใบประกาศนียบัตร ฯลฯ 2.2) ด้านรูปแบบกิจกรรม ได้แก่ 2.2.1) เล่านิทาน ระบายสีและเล่าเรื่องจากภาพ 2.2.2) จัดมุมเด็ก/มุมหนังสือ 2.2.3) ประดิษฐ์สื่อส่งเสริมการอ่านอย่างง่าย อ่านหนังสือ/เล่าเรื่องจากหนังสือ แสดงบทบาทสมมุติ 2.2.4) เล่นเกมส่งเสริมการอ่าน 2.3) ด้านสื่อส่งเสริมการอ่าน ได้แก่ 2.3.1) หนังสือเด็ก 2.3.2) บทเพลง 2.3.3) ภาพวาดระบายสี 2.3.4) การ์ตูนเล่มเล็กและหนังสือเรียนระดับอนุบาล 2.4) ด้านผู้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ได้แก่ 2.4.1) อาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์พี่เลี้ยง 2.4.2) นักเรียนและครูประจำชั้นร่วมกัน 2.4.3) อาจารย์ผู้สอน 2.4.4) บรรณารักษ์


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com