1 การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | Assessment of User’s Satisfaction Towards Information Resources of the Maejo University Library | นิภาพร ก๋าคำ | PULINET Journal

การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | Assessment of User’s Satisfaction Towards Information Resources of the Maejo University Library

นิภาพร ก๋าคำ, กัลย์ธีรา ทาเขียว

Abstract


รายงานการวิจัย เรื่อง การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความพึงพอใจในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ. 2558 2) เพื่อทราบถึงปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยใช้วิธีการแจกแบบสอบถามให้กับผู้ใช้บริการที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุด ตั้งแต่เดือนมีนาคม – เดือนกรกฎาคม 2558
    จากผลการสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากสังกัดคณะบริหารธุรกิจ มีจำนวน 159 คน คิดเป็นร้อยละ 38.65 รองลงมาคือ คณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 12.41 และรองลงมาคือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 11.92 โดยผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ประกอบด้วย นักศึกษาปริญญาเอก นักศึกษาปริญญาโท นักศึกษาปริญญาตรี อาจารย์ บุคลากร และบุคคลภายนอก จำนวน 411 คน และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวม 3.05 ทั้งนี้สามารถแบ่งเป็นทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์ด้านปริมาณ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09)  ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์ด้านความทันสมัย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.07) ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์ด้านปริมาณ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.94) และทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์ด้านความทันสมัย มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 2.91)
    นอกจากนี้ จากผลการสำรวจความพึงพอใจของทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการในสำนักหอสมุด ทำให้ทราบถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาในการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยพบว่า มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ไม่เคยใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์ แสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรประเภทสิ่งไม่ตีพิมพ์มีปริมาณการใช้งานน้อย เนื่องจาก ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการมีปริมาณน้อยและไม่ตรงตามความต้องการ รวมถึง อุปกรณ์อำนวยความสะดวกสำหรับการใช้บริการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เอื้อต่อการใช้งาน ดังนั้น ทางสำนักหอสมุดต้องพิจารณาหาแนวทางเพื่อแก้ปัญหาทรัพยากรสารสนเทศบางสาขาวิชาที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ใช้บริการ และหาแนวทางการประชาสัมพันธ์เชิงลึกหรือพัฒนากระบวนการประชาสัมพันธ์ที่ช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com