การประยุกต์ใช้นวัตกรรมสำหรับบริการส่งเสริมการวิจัยของ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวร | An application of Research Support Service Innovation for Naresuan University Library
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับบริการส่งเสริมการวิจัยของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสืบค้นฐานข้อมูลผลงานวิชาการนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล ซึ่งระบบที่ห้องสมุดพัฒนาเพื่อใช้ในการให้บริการส่งเสริมการวิจัย ประกอบด้วย 3 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบบริหารจัดการผู้ใช้ ( Customer Relationship Management) 2) ระบบลงทะเบียนการใช้งาน ( Registration System) ซึ่งประกอบด้วยระบบบริหารจัดการฝึกอบรม และระบบลงทะเบียนขอรับบริการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ Clinic@Library 3) ระบบสืบค้นฐานข้อมูลผลงานนักวิชาการนักวิจัยมหาวิทยาลัยนเรศวรที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล (NU Scholarly Research Report) หรือ NUSRR ผลการศึกษาได้มาจาก 2 ส่วนคือ สถิติการใช้บริการ และผลการประเมินการใช้ฐานข้อมูล ซึ่งจากสถิติผลการใช้บริการส่งเสริมการวิจัย ตั้งแต่ปี 2554-2556 พบว่า บริการตรวจสอบค่า Journal Impact Factor มีปริมาณการใช้งานมากที่สุด ส่วนบริการวิเคราะห์การอ้างอิงและบริการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย มีปริมาณการใช้งานน้อย และบริการให้คำปรึกษาด้านวิชาการ Clinic@Library ในระยะแรกที่เปิดให้บริการ พบว่าได้รับความสนใจจากอาจารย์อย่างมาก ส่วนผลการประเมินการใช้ฐานข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการเป็นอาจารย์มากที่สุด รองลงมาเป็นบุคลากรสายสนับสนุน ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ด้านความเหมาะสมในการทำงานของระบบ พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการประมวลผลข้อมูลมากที่สุด (=4.03) ด้านความถูกต้องในการทำงานของระบบ ผู้ใช้มีความพึงพอใจในความถูกต้องของผลงานวิจัยที่ตรงตามที่ปรากฎจากต้นแหล่งมากที่สุด (=4.19) ส่วนประโยชน์การใช้งาน ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของผลงานวิจัยที่มีต่อคณะ/หน่วยงาน/มหาวิทยาลัยมากที่สุด (=4.25) ซึ่งโดยภาพรวมผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยสรุปการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้สำหรับบริการส่งเสริมการวิจัย ช่วยสนับสนุนการให้บริการให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ และเป็นการเพิ่มปริมาณการใช้บริการให้มากขึ้น
The purpose of this study were to develop the innovation of Research Support Service of Naresuan University and to study users’satisfaction on searching NU Scholarly Research Report (NUSRR). The system for Research Support Service were separated in 5 systems : 1) Customer Relationship Management 2) Registration System such as Training management system and Registration system of Academic Consultancy Service called “Clinic@Library”. The tools of this study were the statistical of services and the online questionnaire of users’ satisfaction on using NUSRR. Statistical of Research Support Service since 2011-2013 were as follow : 1) Journal Impact Factor were used the most. 2) Citation Analysis and Literature Search Service were used less and there were students and lecturers interested in Clinic@Library increased more . The results of Evaluation of NUSRR as follow ; The most users used NUSRR the most were lecturers and the minor users were supporting staffs. For the aspect of the system were : 1) Suitablilty of database ; the most users were satisfied in speed of processing (=4.03). 2)Accuracyofdatabase : the most users were satisfied in correctness of scholarly document data (=4.19). 3) Benefit of database ; the most users were satisfied in useful of NUSRR to the Faculties/Department and University (=4.25). The users’ satisfaction of UNSRR were in high level all aspects. and the conclusion were : the Innovation of Research Support Service increased the efficiency of service, facilitated both user and staffs and increased the quantity of using service much more.
Full Text:
PDFReferences
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2551). พัฒนาเว็บด้วยเทคนิค Ajax และ PHP. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
พรชนิตว์ ลีนาราช.(2555).รูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทยวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สาธิต ชัยวิวัฒน์ตระกูล (2547). เติมเทคนิค MySQLให้เต็มประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556).คลังข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2556 จาก http://library.cmu.ac.th/scholarly
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2548). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com