1 ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | Users’s Opinions on the Image of The Center for Library Resources and Educational Media Suranaree University of Technology | คนึงนิตย์ หีบแก้ว | PULINET Journal

ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี | Users’s Opinions on the Image of The Center for Library Resources and Educational Media Suranaree University of Technology

คนึงนิตย์ หีบแก้ว, ธันยกานต์ สินปรุ, พุทธชาติ เรืองศิริ

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของผู้ใช้บริการทั้งหมด 9 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรสารสนเทศด้านการบริการห้องสมุด ด้านบริการสื่อการศึกษา ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการสื่อสาร ด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ด้านเทคโนโลยี และด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม และลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 385 ชุด จากประชาคมชาวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีที่เคยเข้ามาใช้บริการ 5 ครั้งขึ้นไปและเข้ามาใช้บริการขณะทำการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายปฏิบัติการวิชาชีพของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาพลักษณ์ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีในภาพรวมทั้งหมด 9 ด้านพบว่า ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์อยู่ในระดับดี(xˉ= 4.41,SD = 0.71) เมื่อจำแนกภาพรวมแต่ละด้านพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ด้านเทคโนโลยีมากที่สุด (xˉ= 4.56,SD = 0.65) มีภาพลักษณ์ระดับดีมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านสถานที่ (xˉ= 4.53,SD = 0.67) มีภาพลักษณ์ระดับดีมาก และด้านการบริการห้องสมุด (xˉ= 4.45,SD = 0.69) มีภาพลักษณ์ระดับดี ตามลำดับ
ส่วนจำแนกตามประเด็นพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ประเด็นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ออกแบบและตกแต่งอาคารทันสมัย สวยงาม และสะอาดมากที่สุด (xˉ= 4.68,SD = 0.57) มีภาพลักษณ์ระดับดีมาก รองลงมา ได้แก่ ประเด็นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ทันสมัย (xˉ= 4.59, SD = 0.61) มีภาพลักษณ์ระดับดีมาก และประเด็นเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายประเภท(xˉ= 4.59, SD = 0.62) มีภาพลักษณ์ระดับดีมาก
ความคิดเห็นต่อลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นพบว่า ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มตัวอย่างสามารถจดจำ ชื่อเต็มเว็บไซต์ สัญลักษณ์หรือโลโก้ คำขวัญหรือสโลแกน สีของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา ได้ถูกต้อง และสถานที่เป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นที่สุด ส่วนทรัพยากรสารสนเทศ เป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นที่จะทำให้ผู้ใช้บริการเข้ามาใช้บริการในปัจจุบันและอนาคต “ทรัพยากรสารสนเทศ” จึงถือว่าเป็นเแก่นแท้ของแบรนด์ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา เมื่อนำผลวิจัยตอนที่ 2 ความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์และตอนที่ 3 ความคิดเห็นต่อลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นมาวิเคราะห์ร่วมกันพบว่าบุคลิกภาพศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา คือ “องค์การตื่นรู้”

The purpose of this research project was to investigate users’s opinions on the image of the Center for Library Resources and Educational Media (CLREM), Suranaree University of Technology in nine areas: information resources, library services, educational services, personnel, building, communication, tool or technological equipment and corporate social responsibility. The study on the outstanding characteristics of the CLREM was also conducted.By questionnaires 385 sets from subjects were undergraduate students, graduate students, faculty and staff of Suranaree University of Technology. They were sampled from users at list five times or more and during the research period.
The research result on the 9 area images revealed that the users from all groups had an opinion on the images in the good level (xˉ= 4.41,SD = 0.71) However, if each area was separately considered, the area that the users liked were technology (xˉ= 4.56,SD = 0.65) ), venue (xˉ= 4.53,SD = 0.67), and service (xˉ= 4.45,SD = 0.69) respectively.
The users also liked the CLREM as a learning center with a modern, beautiful, and clean design (xˉ= 4.68,SD = 0.57) ), as a learning center with a modern automated system (xˉ= 4.59, SD = 0.61), and as a center with various information resources (xˉ= 4.59, SD = 0.62) respectively.
In the aspect of outstanding characteristics, the subjects were able to remember the full name, website, symbol or logo, slogan and color of the CLREM correctly. The building of the CLREM was the most prominent characteristics. Moreover, the information resources of the CLREM, another outstanding characteristic of the CLREM, played a major role in attracting the present and future users to come and use the CLREM. Therefore, "Information Resources" is a “Brand Essence” of the CLREM. Considered from the results of the study, it could summarized that the personality of the CLREM is an “Awakening Organization”.


Full Text:

PDF

References


ธันยากร สตางค์พุฒิ. (2550). ภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลหนองบัวระเหวตามการรับรู้ของผู้ให้บริการผู้รับสารและประชาชนและช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมต่อการรับรู้ภาพลักษณ์. รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นงเยาว์ สุคำภา. (2547).ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล กิจไพศาลรัตนา.(2552). ภาพลักษณ์ของห้องสมุดยุคใหม่ : การประยุกต์ใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อการบริหารคุณภาพในห้องสมุดคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิธิวดี พิกุลศิริ. (2547).มุมมองของผู้ใช้บริการเกี่ยวกับภาพลักษณ์การบริการของสายการบินภายในประเทศ. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนสังคม, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2548).พลังแห่งภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ฐานมีเดีย เน็ตเวิร์ค.

มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2553). เจาะลึก! การสื่อสารเชิงกลยุทธ์เพื่อการบริหารภาพลักษณ์องค์กร. [ออนไลน์]. ได้จาก: www.mis.nu.ac.th/bpm/read.php.

รายงานการประเมินตนเอง ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา. (2554). นครราชสีมา: ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com