1 การสกัดข้อมูลและสร้างระเบียนรายการหลักฐานจากระเบียนสหบรรณานุกรม | Data Extracting and Generating the Authority Records from Union Catalog Bibliographic Records | วิทยา เทวรังษี | PULINET Journal

การสกัดข้อมูลและสร้างระเบียนรายการหลักฐานจากระเบียนสหบรรณานุกรม | Data Extracting and Generating the Authority Records from Union Catalog Bibliographic Records

วิทยา เทวรังษี, ศิวนาถ นันทพิชัย, ยุทธนา เจริญรื่น

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา วิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลการลงรายการบรรณานุกรม และการลงรายการหลักฐานตามมาตรฐาน MARC 21 Format (2) เพื่อสร้างระเบียนรายการหลักฐานจากระเบียนบรรณานุกรมโดยอัตโนมัติและ (3) เพื่อศึกษาวิธีการควบคุมความถูกต้องของระเบียนรายการหลักฐานจากระเบียนบรรณานุกรมโดยอัตโนมัติวิธีการศึกษา ประกอบด้วย (1) การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) (2) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากผู้เชี่ยวชาญของคณะกรรมการเครือข่าย ThaiLIS และ (3) การประชุมกลุ่ม (Focus Group) โดยการจัดประชุมกลุ่มร่วมกับห้องสมุดสมาชิกเครือข่าย ThaiLIS จำนวน 24 แห่ง


ผลการศึกษา พบว่า (1) สามารถกำหนดวิธีการสร้างเป็นข้อมูลรายการหลักฐาน (Authority Data) จากข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic Data) ของห้องสมุดสมาชิกที่นำเข้า โดยนำข้อมูลมาสกัดข้อมูล (Extract) และจำแนกเป็นรายการหลักฐาน 3 ประเภทคือ ชื่อ (Name) หัวเรื่อง (Subject) และชื่อชุด (Series) (2) สามารถสร้างระเบียนรายการหลักฐาน (Authority record) ตามรูปแบบ MARC 21 Format for Authority Data ประกอบด้วย Name 594,845ระเบียน Subject 413,980 ระเบียน Series 23,269 ระเบียน และ Subdivision 35,507 ระเบียน (3) สามารถสร้างกระบวนการตรวจสอบความซ้ำซ้อน และกฎเกณฑ์เงื่อนไขสำหรับการตรวจสอบความถูกต้องของระเบียนเช่น การตรวจสอบรูปแบบขอบตัวอักษรพิมพ์ การตรวจสอบอักขระพิเศษ การตรวจสอบซ้ำระเบียนจำแนกตามประเภทและข้อกำหนดรายการเขตข้อมูลสำหรับการสร้างระเบียนรายการหลักฐาน ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมดนี้จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโปรแกรมและเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของระเบียนรายการหลักฐานต่อไป


Full Text:

PDF

References


คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. (2547).หัวเรื่องสำหรับหนังสือภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 4).

สุวันนา ทองสีสุขใส. (2543).MARC 21 สำหรับระเบียนหนังสือ / เอกสาร. ขอนแก่น: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุหมาด หมัดอาด้ำ.(2551). โครงสร้างข้อมูล.นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

Chan, Lois Mai. (1995). Library of Congress Subject Heading. (3rded.). Englewood, Colorado: LIBRARIES UNLIMITED, INC.

Drozdek, Adam. (2008).Data Structure and Algorithm in Java. (3rded.). Singapore: Cengage Learning Asia.

Ganendran, Jacki. (1998). Learn SUBJECT ACCESS. (2nded.). Canberra: DocMatrix.

Julien, Charles-Antoine, Tirilly, Prerre, Leide, John E., &Guastavino, Catherine. (2012) Constructing a True LCSH Tree of a Science and Engineering Collection. Journal of The American Society for Information Science and Technology 63(12), 2405-2418.

Maneewongvatana, Suthathip, &Maneewongvatana, Songrit.(2011). A Similarity Model for Bibliographic Records Using Subject Headings. In Eighth International Joint Conference on Computer Science and Software Engineering (JCSSE), Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE),263-268.

Miller, Joseph. (1997).Sear List of Subject Heading (16thed.). New York: The H. W. Wilson Company.

Mortimer, Mary. (2543).Introducing MARC 21. กรุงเทพฯ: บุ๊คโปรโมชั่น แอนด์ เซอร์วิส.

Yi, Kwan, &Chan, Lois Mai. (2009). Linking Folksonomy to Library of Congress subject heading: an exploratory study. Journal of Documentation 65(6), 872-900.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com