การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ต่อสื่อธรรมะในรูปแบบโลกเสมือนผสานโลกจริง | The Utilization and Satisfaction of Thai-Nichi Institute of Technology Students on the Augmented Reality (AR) Dharma Media
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อธรรมะในรูปแบบโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality) และศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของของผู้ใช้งานต่อเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ขั้นตอนการวิจัยมีการพัฒนาเครื่องมือโดยใช้โปรแกรม Pixlive Maker ผ่านกระบวนการพัฒนาระบบ (SDLC) และการศึกษาการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบไม่ทราบโอกาสความน่าจะเป็น ประเภทการสุ่มแบบบังเอิญได้จำนวน 125 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามด้วยสูตรครอนบาค อัลฟาร์เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีการใช้ประโยชน์สื่อธรรมะในรูปแบบโลกเสมือนผสานโลกในระดับปานกลาง โดยใช้ประโยชน์เพื่อใช้ประกอบการสวดมนต์มากที่สุด รองลงมาคือใช้สร้างบรรยากาศการฝึกสมาธิและภาวนาจิต และ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อธรรมะในรูปแบบโลกเสมือนผสานโลกในระดับมาก โดยมีความพึงพอใจตามลำดับ คือ ด้านเทคนิคที่ใช้ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้งานอุปกรณ์ และด้านโครงสร้างของสื่อ
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com