1 การประเมินคอลเลคชันสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ : การศึกษาเปรียบเทียบ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับห้องสมุดอื่น | Evaluation of Audio-Visual Material (Motion Picture) Collection: A Comparison Study Between Maejo University Library and Other Libraries | สุธรรม อุมาแสงทองกุล | PULINET Journal

การประเมินคอลเลคชันสื่อโสตทัศน์ภาพยนตร์ : การศึกษาเปรียบเทียบ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับห้องสมุดอื่น | Evaluation of Audio-Visual Material (Motion Picture) Collection: A Comparison Study Between Maejo University Library and Other Libraries

สุธรรม อุมาแสงทองกุล

Abstract


การวิจัยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับรายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นเป็นเกณฑ์มาตรฐานตามการวิจัยครั้งนี้  (2) เพื่อประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับคอลเลคชันของห้องสมุดอื่นที่ต้องการเทียบเคียงในด้านจำนวนสื่อภาพยนตร์ (คอลเลคชันแต่ละแห่ง)  และด้านข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ (ความละเอียดของข้อมูล)  การวิจัยครั้งนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจของสื่อภาพยนตร์ที่เป็นคอลเลคชันในห้องสมุดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาลักษณะข้อมูลการทำรายการบรรณานุกรมสื่อของห้องสมุดต่างๆ  ประชากร คือรายการข้อมูลบรรณานุกรมภาพยนตร์  แหล่งประชากร คือ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่มีระดับพัฒนาคอลเลคชันสูง  โดยสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 4 แห่ง และห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้อีก 1 แห่ง รวม 5 แห่ง  เครื่องมือที่ใช้คือ (1) โปรแกรม CDS/ISIS, โปรแกรม Film_opacที่ใช้งานบนโปรแกรม Elib (2) รายชื่อสื่อภาพยนตร์ดีเด่นที่จัดทำเป็นเกณฑ์มาตรฐาน และ (3) แบบบันทึกข้อมูลการทำรายการบรรณานุกรมห้องสมุดต่างๆ (ความละเอียดของข้อมูล) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยตัวกลางเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยมีดังนี้

  1. ฐานข้อมูลภาพยนตร์บริการบนเว็บ ณ  http://library.mju.ac.th/film/index.php 
    มีจำนวน 12,958 รายชื่อ  ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ดีเด่นที่ใช้ในการวิจัย 2,924 รายชื่อ
  2. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กับเกณฑ์หรือรายชื่อสื่อที่มีมาตรฐาน  พบว่า มีในคอลเลคชันห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 909 รายชื่อ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.09 ของภาพยนตร์ดีเด่นทั้งหมด  ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 50.00  จึงปฏิเสธสมมติฐานข้อ 1
  3. การประเมินคอลเลคชันสื่อภาพยนตร์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยคอลเลคชันห้องสมุด 5 แห่ง คือ 909 : 1057 รายชื่อ  คิดเป็นร้อยละ 86.00  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือร้อยละ 75  จึงยืนยันสมมติฐานข้อ 2
  4. การประเมินข้อมูลบรรณานุกรมสื่อภาพยนตร์ (ความละเอียดของข้อมูล) ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อค่าเฉลี่ยของห้องสมุด 5 แห่ง คือมีองค์ประกอบข้อมูล 17 ข้อ : 12.2 ข้อ  สรุปว่าจัดทำละเอียดกว่าแห่งอื่น

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com