การพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ | Network Development in Resource learning Center of Hand-Woven Fabric of Surin Province, Udornmeechai Province, and Champasak Province
Abstract
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจและรวบรวมเครือข่ายผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ 2) เพื่อพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือในจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ เป็นการการวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาโดยเลือกแบบเจาะจง ศึกษากับกลุ่มช่างทอผ้า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ภัณฑารักษ์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย จังหวัดอุดรมีชัย ราชอาณาจักรกัมพูชา และแขวงจำปาศักดิ์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 71คน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสัมภาษณ์ การประชุม และการสนทนากลุ่ม ส่วนวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษากับกลุ่มช่างทอผ้า บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ ภัณฑารักษ์ และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 253 คนและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า
1. การสำรวจรวบรวมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์พบว่า เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือในระดับท้องถิ่น เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือที่อยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงกันกล่าวคือ 1) เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และมีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มทอผ้าบ้านท่าสว่าง และกลุ่มทอผ้าบ้านสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์2) เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดอุดรมีชัยคือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมียร์เจย จังหวัดบันเทียรเมียเจย เป็นศูนย์กลางการประสานงาน มีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย ประกอบด้วยกลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม่อนอำเภอบันเตียอำปึลจังหวัดอุดรมีชัย และศูนย์ Soieries du Mekong อำเภอบันเทียรชมาล จังหวัดบันเทียรเมียเจยและ3)เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือแขวงจำปาศักดิ์ คือ พิพิธภัณฑ์แขวงจำปาศักดิ์ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และมีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย คือ กลุ่มทอผ้าบ้านสะพายอำเภอเมืองชนะสมบูรณ์แขวงจำปาศักดิ์
2. การพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ พบว่า เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือระดับท้องถิ่นได้พัฒนาขยายเป็นระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นความร่วมมือของแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือในภูมิภาคอาเซียนเดียวกัน ลักษณะการดำเนินงานมีศูนย์กลางการประสานงาน คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือภาคี คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมียร์เจย และพิพิธภัณฑ์แขวงจำปาศักดิ์ โดยมีความร่วมมือในกำหนดแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือร่วมกันประกอบด้วย การจัดหาผ้าทอมือ การวิเคราะห์สาระผ้าทอมือ การลงทะเบียน การจัดเก็บ การจัดแสดง และการบริการ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านผ้าทอมือ และเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับช่างทอผ้า นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชน
3. การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ พบว่า ควรจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตผ้าทอมือ โดยจัดอบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการออกแบบลวดลายผ้า การเตรียมเส้นไหม และเทคนิคการทอ ควรจัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยควรจัดเป็นนิทรรศการถาวร จัดนิทรรศการมีชีวิต มีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการทอผ้าทอมือ และควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันให้กลายเป็นประชาคมอาเซียน
1. การสำรวจรวบรวมเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์พบว่า เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ เป็นเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือในระดับท้องถิ่น เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือที่อยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงกันกล่าวคือ 1) เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และมีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย ประกอบด้วย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มทอผ้าบ้านท่าสว่าง และกลุ่มทอผ้าบ้านสวาย อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์2) เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดอุดรมีชัยคือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมียร์เจย จังหวัดบันเทียรเมียเจย เป็นศูนย์กลางการประสานงาน มีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย ประกอบด้วยกลุ่มทอผ้าบ้านโคกหม่อนอำเภอบันเตียอำปึลจังหวัดอุดรมีชัย และศูนย์ Soieries du Mekong อำเภอบันเทียรชมาล จังหวัดบันเทียรเมียเจยและ3)เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือแขวงจำปาศักดิ์ คือ พิพิธภัณฑ์แขวงจำปาศักดิ์ เป็นศูนย์กลางการประสานงาน และมีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือย่อย คือ กลุ่มทอผ้าบ้านสะพายอำเภอเมืองชนะสมบูรณ์แขวงจำปาศักดิ์
2. การพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ พบว่า เครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือระดับท้องถิ่นได้พัฒนาขยายเป็นระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นความร่วมมือของแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือในภูมิภาคอาเซียนเดียวกัน ลักษณะการดำเนินงานมีศูนย์กลางการประสานงาน คือ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ มีเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือภาคี คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเมียร์เจย และพิพิธภัณฑ์แขวงจำปาศักดิ์ โดยมีความร่วมมือในกำหนดแนวทางการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือร่วมกันประกอบด้วย การจัดหาผ้าทอมือ การวิเคราะห์สาระผ้าทอมือ การลงทะเบียน การจัดเก็บ การจัดแสดง และการบริการ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านผ้าทอมือ และเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับช่างทอผ้า นักเรียน นักศึกษา เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปได้ศึกษาตามอัธยาศัยรวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเสริมสร้างเศรษฐกิจของชุมชน
3. การประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ข้อเสนอแนะในการพัฒนาเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ผ้าทอมือจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุดรมีชัย และแขวงจำปาศักดิ์ พบว่า ควรจัดให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตผ้าทอมือ โดยจัดอบรมและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับด้านการออกแบบลวดลายผ้า การเตรียมเส้นไหม และเทคนิคการทอ ควรจัดให้มีการเรียนการสอนในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยควรจัดเป็นนิทรรศการถาวร จัดนิทรรศการมีชีวิต มีการประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา และเยาวชน ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดการทอผ้าทอมือ และควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันให้กลายเป็นประชาคมอาเซียน
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com