CMUL Digital Heritage Collection: จากเอกสารมรดกสู่สารสนเทศดิจิทัล | CMUL Digital Heritage Collection: From paper documents to digital files
Abstract
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับแนวหน้าที่รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ของประชาคมภาคเหนือ และประเทศไทย สำนักหอสมุดเล็งเห็นความสำคัญของข้อมูลเอกสารมรดกภูมิปัญญาภาคเหนือ การสงวนรักษา และอนุรักษ์ทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทจึงได้จัดทำฐานข้อมูล CMUL Digital Heritage Collection ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างฐานข้อมูลเอกสารมรดกฉบับเต็ม 2) เพื่ออนุรักษ์ และสงวนรักษาเอกสารมรดกให้ยั่งยืนพร้อมทั้งรวบรวมองค์ความรู้ของเอกสารมรดกที่สำคัญของภาคเหนือมาไว้ในแหล่งเดียวกันรูปฐานข้อมูล 3) เพื่อรวบรวมและเผยแพร่เอกสารมรดกฉบับเต็มอย่างเป็นระบบ 4) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากเอกสารมรดกผ่านเว็บไซต์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้ 1) วางแผนการดำเนินงานกำหนดประเภทของเอกสารมรดกที่จะดำเนินการ 2) จัดทำโครงการเสนอของบประมาณสนับสนุน3) กำหนดเมทาดาทา4) ดำเนินการจัดเตรียมและแปลงผันเอกสารมรดกให้อยู่ในรูปสารสนเทศดิจิทัล 5) สร้างฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม 6) เผยแพร่ฐานข้อมูลเอกสารมรดกฉบับเต็ม 7) ติดตามผลการดำเนินงาน 8) ประเมินผลการใช้ฐานข้อมูล
จากการประเมินผลการใช้ฐานข้อมูล พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อฐานข้อมูล Digital Heritage Collection ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการสืบค้น ด้านการแสดงผล และด้านการเผยแพร่ ซึ่งได้มีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง และวางแผนการดำเนินงานในการเพิ่มเติมข้อมูลเอกสารมรดกประเภทอื่น และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียน
ฐานข้อมูล CMUL Digital Heritage Collection ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จากเอกสารมรดกที่มีคุณค่าซึ่งแสดงผลในรูปเอกสารฉบับเต็มจำนวนกว่า 800 รายการ ที่มีการดำเนินงานทุกขั้นตอนอย่างมีมาตรฐานในการจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากเอกสารมรดกที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้แก่มวลมนุษยชาติได้ศึกษาอย่างกว้างขวางผ่านเว็บไซต์
Chiang Mai University Library, the topflight learning center, who collects all types of information resources to support the teaching of professors, researchers and students, as well as the source of learning and community of northern Thailand. Chiang Mai University Library has realized the importance of intellectual heritage of Northern Thailand. By the importance of the preservation and conservation of all types of information, so Chiang Mai University Library has implemented a database by the name “CMUL Digital Heritage Collection”. The objectives are as follows 1.To create a databasefullheritage documents. 2. To conserve andpreserve heritage documentstosustainability and that’s be collection of Northern knowledgeinto thesame source. 3. To collect andpublish full heritage documentsby usingthe system thatthe public caneasilyaccessanywhere andanytime. 4. To disseminateknowledgeof heritage documentsthrough the website. Thus the implementation planning of database management has been planned for effectiveness and efficiency which plans are as follows. 1. Planningdefine the type ofheritage documents 2. Preparefundingproposals. 3. Assignmetadata 4. To performed and digitize on heritage documents. 5. Create a databasefull documentation. 6. Publish the full database of heritage documents. 7. Monitoring theimplementation. 8. Evaluate the use ofdatabase, with a survey of user satisfaction by Purposive sampling method then collect quantitative data to analysis statistical percentage.The results showed that Service Receivers were satisfied with the high level of all aspects such as the content, the search, the rendering and dissemination of information which was introduced to improve the work process. And implementation plan for more information and other ancient documents translated into English to prepare for ASEAN Community.
CMUL Digital Heritage Collection database isa source oflearningandwisdom. Historical, religious and cultural from heritage documents valuable. The results in full documentation of more than 800 items with all operating procedures are standard. And consistency ininformation resources management. To disseminateknowledgeofheritage documentsthatmankindhas studied extensivelythrough the website.
Full Text:
PDFReferences
Darnton, Robert. (2009).The case for books : past, present, and future. New York: PublicAffairs.
Federal Agencies Digitization Guidelines Initiative. (2012). A Resource List for Standards Related to Digital Imaging of Print, Graphic, and Pictorial Materials. Retrieved October 10, 2013, from http://www.digitizationguidelines.gov/guidelines/digitize-standards.html
Hughes, Lorna M. (2004). Digitizing collections : strategic issues for the information manager. London: Facet.
นงคราญ วณีสอน. (2538).คู่มือการอนุรักษ์และบำรุงรักษาหนังสือ เอกสารหายาก. เชียงใหม่: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สำนักหอสมุด. (2538). รายชื่อเอกสารโบราณ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย.
เรณู วิชาศิลป์. (2548). การศึกษาอักศรและเอกสารโบราณภาษาไทย.เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. (2548). คู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์อักษรของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com