1 การจัดเก็บสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด (In-House Usage) ด้วยโปรแกรมป้อนรหัสบาร์โค้ดแบบกลุ่ม (Barcode Batch Check In) | รักเผ่า เทพปัน | PULINET Journal

การจัดเก็บสถิติการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด (In-House Usage) ด้วยโปรแกรมป้อนรหัสบาร์โค้ดแบบกลุ่ม (Barcode Batch Check In)

รักเผ่า เทพปัน, ณชญาดา ภิราษร

Abstract


        ผู้บริหาร บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงได้คำนึงถึงว่าการจัดเก็บสถิติการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้งานภายในห้องสมุดโดยไม่ได้ยืมออกนั้นมีความสำคัญ สมควรจัดเก็บสถิติการใช้งานประเภทนี้ไว้  นอกจากนี้ยังมีทรัพยากรสารสนเทศบางประเภทที่ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการยืมออกจากห้องสมุดแต่จัดให้ใช้ภายในห้องสมุดเท่านั้น ซึ่งทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ก็ควรจะมีการบันทึกสถิติการใช้งานด้วยเช่นกัน จึงเห็นสมควรพัฒนาเครื่องมือสำหรับจัดเก็บสถิติการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศภายในห้องสมุด (In-ouse usage) เพื่อใช้ในการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศที่บอกรับ การพิจารณาเพิ่มจำนวนฉบับ (Copy) ให้เพียงพอกับความต้องการ ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลประกอบการจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศออกจากห้องสมุดต่อไป

        ศูนย์บรรณสารฯ จึงได้พัฒนาโปรแกรมป้อนรหัสบาร์โค้ดแบบกลุ่ม (Barcode batch check in) ด้วย .NET Framework (C#) ในรูปแบบ Desktop application สำหรับช่วยส่งข้อมูลรายการรหัสบาร์โค้ดของทรัพยากรสารสนเทศที่มีการใช้ภายในห้องสมุดที่จัดเก็บในรูปแบบไฟล์ข้อความ (Text file) ไปยังหน้า “Check in” แบบ “In-house usage” ของส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก (GUI) ของโปรแกรมระบบห้องสมุดอัตโนมัติที่ศูนย์บรรณสารฯ ใช้งาน (VTLS) เป็นการบันทึกรายการทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้งานภายในห้องสมุดเข้าสู่ฐานข้อมูลของระบบห้องสมุดอัตโนมัติครั้งละจำนวนมาก

        จากการประยุกต์ใช้งานโปรแกรมป้อนรหัสบาร์โค้ดแบบกลุ่มที่พัฒนาขึ้น หลังจากมีการทดสอบและปรับแต่งโปรแกรมหลายครั้ง พบว่ามีความสะดวกรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำในการจัดเก็บสถิติการใช้งานทรัพยากรสารสนเทศ ส่งผลให้ฝ่ายบริการสารนิเทศได้ข้อมูลประกอบการประเมินคุณค่ทรัพยากรสารสนเทศเพื่อรายงานผู้บริหาร และสามารถใช้เป็นข้อมูลให้ฝ่ายพัฒนาทรัพยากรเพิ่มจำนวนฉบับ (copy) ให้เพียงพอกับความต้องการ และใช้ประกอบการจำหน่ายออกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดต่อไป


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com