1 การประยุกต์ใช้รังสียูวีซีและการพ่นหมอกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10% เพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคาร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร | Application of UVC Radiation and Mist Spray 10% Hydrogen Peroxide to Control Microbial Indoor Air Quality NU Library, Naresuan University | ขวัญ อ่ำดี | PULINET Journal

การประยุกต์ใช้รังสียูวีซีและการพ่นหมอกไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10% เพื่อควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคาร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร | Application of UVC Radiation and Mist Spray 10% Hydrogen Peroxide to Control Microbial Indoor Air Quality NU Library, Naresuan University

ขวัญ อ่ำดี, สุเชาว์ ทิมเครือจีน, พีระ สำเภาเงิน, ชนัญชิดา ม่วงทอง, สุวรรณา นุ่มพิษณุ, นุศรา ยินยอม, ศิริวรรณ วิชัย

Abstract


การควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารเรียนรู้ชั้น 2 สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยนเรศวรให้ได้มาตรฐานคุณภาพอากาศภายในอาคารตามองค์กร U.S. Environmental Protection Agency (EPA) ที่กำหนดให้ต้องมีปริมาณแบคทีเรีย และเชื้อราไม่เกิน 500 cfu/m3 โดยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และรังสียูวีซี ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2561 ได้ตรวจนับปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและปริมาณยีสต์และราในอากาศของพื้นที่ดังกล่าวก่อนการฆ่าเชื้อโดยใช้หลักการ Settle plate ด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อ 2 ชนิด คือ TSA และSDA ทิ้งไว้ 30 นาที และตรวจนับปริมาณจุลินทรีย์ ที่รอดชีวิตอีกครั้งหลังการพ่นหมอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 10% อัตรา 1.5ml/m3 และหลังการฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี 30 วัตต์ ในห้องควบคุเครื่องปรับอากาศเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ในแต่ละวัน ผลการวิจัยพบว่าการพ่นหมอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ดังกล่าว ไม่สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ลงได้ และพบว่าจุลินทรีย์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากเริ่มต้นก่อนการฆ่าเชื้อ มีปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดในอากาศเท่ากับ 380 cfu/m3 ปริมาณยีสต์และราเท่ากับ 30 cfu/m3  หลังการฆ่าเชื้อพบปริมาณสูงขึ้นเป็น 960 cfu/m3 สำหรับจุลินทรีย์ทั้งหมดและเท่ากับ100 cfu/m3 สำหรับยีสต์และรา ในเวลา 4 วันของการทดสอบ ทั้งนี้น่าจะมีสาเหตุมาการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่ำและการสลายตัวของสารได้น้ำทำให้ความชื้นในอากาศสูงขึ้นส่งผลให้จุลินทรีย์เจริญได้ดีขึ้นและกระตุ้นการงอกของสปอร์ได้ส่วนการติดตั้งรังสียูวีซี 30 วัตต์ ที่ห้องควบคุมเครื่องปรับอากาศ 2 จุด สามารถลดปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศภายในอาคารลงมาในระดับที่ได้มาตรฐานไม่เกิน 500 cfu/m3 โดยจุลินทรีย์ทั้งหมดลดลงเท่ากับ 83.5% หรือ 0.8log ในวันที่ 3 ของการทดสอบ ส่วนเชื้อรามีปริมาณลดลงเท่ากับ 93.7% หรือ 1.2log ในวันเดียวกัน ผลที่ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยต่อไปเพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยได้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com