การจัดการความรู้ผญาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คลังดิจิทัลเพื่อความยั่งยืน | Knowledge Management of Local Wisdom into Digital Library for Sustainability
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบค้น รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นผญา เพื่อศึกษา วิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ผญา แปลความให้สามารถสื่อความหมายเข้าใจง่าย และเพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บและค้นคืน อนุรักษ์ สืบสานผญาให้สามารถดำรงอยู่อย่างยั่งยืนและเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง ข้อมูลของผญาได้จากข้อมูลทุติยภูมิ แบ่งออกเป็นจำนวน 8 หมวด ได้แก่ 1) ผญาคำสอน 2) ผญาปริศนา 3) ผญาภาษิตสะกิดใจ 4) ผญาเกี้ยวพาราสีโต้ตอบหนุ่มสาว หรือผญาเครือ 5) ผญาเกี้ยวพาราสีทั่วไป 6) หมวดภาษิตคำเปรียบเปรยต่าง ๆ 7) ผญาปัญหาภาษิต และ 8) ผญาภาษิตโบราณอีสานในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผญา ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผญา สามารถจัดการความรู้โดย 1) เก็บรวบรวมผญาเก่าโบราณไทยอีสาน-ลาว 2) จัดหมวดหมู่ของผญาและแปลภาษาให้เข้าใจง่าย 3) พัฒนาคลังดิจิทัลจัดเก็บผญาอย่างยั่งยืน 4) เผยแพร่ผญาบนเว็บไซต์คลังดิจิทัลทั่วโลก
การวิจัยการจัดการความรู้ผญาภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่คลังดิจิทัลเพื่อความยั่งยืนนี้ ช่วยให้ทุกคนที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเว็บไซต์เข้าถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นผญาด้วยความสะดวกรวดเร็ว และยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเข้าใจถึงความหมายของผญาได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมด้วยมีการเพิ่มบทแปลสำนวนภาษาจากภาษาถิ่นไทยอีสาน เป็นภาษาอังกฤษ และภาษาลาวเพิ่มเติมอีกด้วย
Full Text:
PDFRefbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com