1 กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศของนิสิต กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | The Academic Libraries’ Marketing Mix and the Decision Making of Students’ Information Services : a Case Study of Mahasarakham University | สกุลไทย ป้อมมะรัง | PULINET Journal

กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศของนิสิต กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | The Academic Libraries’ Marketing Mix and the Decision Making of Students’ Information Services : a Case Study of Mahasarakham University

สกุลไทย ป้อมมะรัง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษากับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศของนิสิต กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =3.92) มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X =4.01) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศ พบว่า ด้านราคา ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศโดยรวม เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการสารสนเทศ ด้านการรับรู้ความต้องการ ด้านการประเมินผลทางเลือก ด้านการตัดสินใจใช้บริการสารสนเทศ และด้านการประเมินผลภายหลังการให้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรนำข้อสนเทศที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาห้องสมุดโดยนำกลยุทธ์การตลาดมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการบริการสารสนเทศให้เกิดความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการสูงสุด


Full Text:

PDF

References


ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2549). การตลาดการบริการ. กรุงเทพฯ : บริษัท ชีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด.

ปภาดา เจียวก๊ก. (2547). การรู้สารสนเทศของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รุจิรา เหลืองอุบล และน้ำลิน เทียมแก้ว. (2555). ความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการของสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2554. มหาสารคาม : สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุพัฒน์ ส่องแสงจันทร์ และเพชรรัตน์ มีสมบูรณ์พูนสุข. (2550). รายงานการวิจัยความคิดเห็นของผู้บริหารห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์การตลาดบริการในห้องสมุด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Kunneke, K. J. (2001). The Paradigmatic Shift of Service Organizations: A Proposed Marketing Model for South African University Libraries. M-Inf thesis, University of South Africa.

Newell, Terrance. Rethinking Information Literacy Learning Environment : A study to Examine the Effectiveness of two Learning Approaches. Retrieved from: http://proquest.umi.com/pqdweb?did=1221683341&sid=3&Fmt=2&client/d=73586&RQ T=309&VName=PQD. September 10, 2013.

Nichols, John V. (1995). “Using Future Trends to Inform Planning/Marketing …,” Library Trends 43(3) : 349-366.

Pretoria. Madhusudhan, M. (2008). "Marketing of Library and Information Services and Products in University Libraries : A Case Study of Goa University Library," Library Philosophy and Practice. March,

Singh, Rajesh. (2009). “Does your Library have a Marketing…,” Library Management. 30(3) : 117-137.

Zeithaml & Mary Jo Bitner. (1996). Services Marketing. Singapore : McGraw-Hill College.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com