การใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | E-book Usage of Students in Kasetsart University
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำรวจปัญหาในการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ศึกษาความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม ต่อการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเหตุผลของการไม่ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ประจำปีการศึกษา 2556 จำนวน 1,048 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ข้อคำถามแบบเลือกตอบ และข้อคำถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาสภาพการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นิสิตร้อยละ 51.14 เคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และนิสิตร้อยละ 38.83 เคยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับโดยห้องสมุด โดยมีจุดมุ่งหมายในการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับโดยห้องสมุดสูงสุดคือ คือ เพื่อใช้ประกอบการเรียน รองลงมาคือ การทำวิจัย และการทำวิทยานิพนธ์ นิสิตส่วนใหญ่รู้จักฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดจากหน้าเว็บไซต์ห้องสมุด โดยนิสิตเลือกใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาในการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด นิสิตส่วนใหญ่เลือกอ่านหนังสือรูปแบบฉบับอิเล็กทรอนิกส์มากกว่าฉบับพิมพ์ ด้านปัญหาในการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ข้อที่มีปัญหาในระดับมาก คือ การเกิดความเมื่อยล้าและปวดตาในขณะอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ด้านความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมต่อการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีความต้องการในระดับมาก มีดังนี้ ต้องการให้ห้องสมุดบอกรับหนังสือแบบเรียน ต้องการให้มีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทยต้องการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนังสือวิชาการ ต้องการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทหนังสืออ้างอิง ต้องการให้เพิ่มจำนวนคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ให้บริการ และต้องการให้มีการแนะนำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจบนเว็บไซต์สำนักหอสมุด
Full Text:
PDFReferences
จารุพร ชูเรืองสุข. (2552). การใช้และความต้องการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์: กรณีศึกษาหอสมุดวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
วันเพ็ญ ปรีตะนนท์, บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายจัดการทรัพยากรสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). สัมภาษณ์, 3 พฤษภาคม.
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2556). จำนวนนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2556, จาก https://www.regis.ku.ac.th/cpcmns/rpt_std_ku3.php.
Choy, Fatt Cheong and Ng Chay Tuan. (2011). What Users Want and Want Users Do in E-books: Findings of a a study on use of e-books from NTU Library. Singapore Journal of Library & Information Management. 40, 1-32.
Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). Determining Sanple Size for Research Activities. Journal of Educationak and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com