1 การใช้ QR Code สำหรับวิทยานิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | เยาวภา เขื่อนคำ | PULINET Journal

การใช้ QR Code สำหรับวิทยานิพนธ์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เยาวภา เขื่อนคำ

Abstract


สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 2,323 รายชื่อ ซึ่งแบ่งเป็น วิทยานิพนธ์ 1,732  รายชื่อ และงานวิจัย 590 รายชื่อ และจะจัดทำในปีงบประมาณ 2557 อีก จำนวน 350 รายชื่อ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสามารถสืบค้นและดูเอกสารฉบับเต็มได้จากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และฐานข้อมูล TDC ของ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาซึ่งในปี 2557 ได้มีแนวความคิดในการนำเทคโนโลยี QR Code  ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้อย่างแพร่หลายบน Device ต่าง ๆ มาใช้ช่วยในการแสดงผลเอกสารฉบับเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ของวิทยานิพนธ์อีกทางหนึ่ง เพียงแค่แสกนรูปรหัส QR Code ที่ตัวเล่ม ก็สามารถดูเอกสารฉบับเต็มได้ทันที สะดวก รวดเร็ว การดำเนินงาน ได้มีการมีศึกษาโปรแกรมที่จะใช้ในการสร้างรหัส QR Code  เนื่องจากว่าบางโปรแกรมไม่สามารถสร้างรหัส QR Code ได้ครั้งละมาก ๆ จึงต้องมีการศึกษาหาโปรแกรมที่เหมาะ และเลือกใช้โปรแกรม Free ware ที่สามารถ Download มาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยตัวโปรแกรมเองสามารถที่จะสร้าง QR CODE ได้ครั้งละมากๆ ต่างจาก Website ที่สามารถสร้าง QR CODE ได้ไม่มาก โปรแกรมนี้ ยังสามารถที่จะสร้าง QR CODE ได้หลายรูปแบบ รวมถึงการสร้าง Barcode ได้ด้วย เมื่อทำการสร้าง QR Code ของวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ แล้วจึงนำไปติดที่ตัวเล่มของวิทยานิพนธ์ เพื่อให้บริการ สำนักหอสมุด ได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา และผู้ใช้บริการ มีความพึงพอใจเฉลี่ยในด้านสามารถแก้ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.42  รองลงมา สามารถประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลเอกสารฉบับเต็ม คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.25 อันดับที่ 3 สามารถเข้าถึงได้สะดวกรวดเร็ว คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.08 และง่ายต่อการใช้งาน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.02 ตามลำดับ

Full Text:

PDF

References


กระบือบาล. 2553. น.31-37. “QR CODE มาแรงแซง Bar CODE” วารสารสัตวบาล.

กิตติศักดิ์ แก้วเนียม. 2556. SMARTPHONE กับการบริการเชิงรุกของห้องสมุด. มปป. : มปพ.

เครือข่ายห้องสมุดและบรรณารักษ์ไทย. 2556. “QR CODE กับงานห้องสมุดยุคใหม่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.libraryhub.in.th/2013/10/21/qr-CODE-in-mobile-technology-for-library/

(21 กุมภาพันธ์ 2557)

ศรีกุล นันทชมภู. 2554. น. 39-41. “QR CODE: รหัสพันธุ์ใหม่ “ เชียงใหม่ : วารสารแม่โจ้ปริทัศน์.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com