ประตูทางเข้าอัตโนมัติ | Smart gate
Abstract
สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดเก็บสถิติการเข้าใช้บริการของสมาชิกห้องสมุดในทุกๆ ปีการศึกษา เพื่อนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์และเป็นสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานต่างๆ ในปีการศึกษาถัดไป โดยอาศัยข้อมูลสถิติการเข้าใช้จากประตูทางเข้าแบบอัตโนมัติซึ่งประกอบไปด้วยแผงกั้นทางเข้าจำนวนสองช่องทาง ที่ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องยืนยันตัวตนก่อนเข้าห้องสมุด ในการยืนยังตัวตนจะสามารถแยกแยะประเภทของผู้ใช้บริการได้ กล้องเว็บแคมจะทำหน้าที่ถ่ายภาพผู้ที่ได้ยืนยันตัวตนแล้ว เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบระหว่างภาพถ่ายกับรูปถ่ายที่อยู่ในระบบฐานข้อมูล และสามารถเรียกดูภาพถ่ายย้อนหลังในเวลาต่างๆได้ เซ็นเซอร์ที่ติดตั้งบริเวณแผงกั้นจะทำหน้าที่ตรวจนับจำนวนคนที่เดินผ่านและตรวจสอบความถูกต้องในการยืนยันตัวตน เมื่อผู้ใช้บริการเดินผ่านประตูโดยไม่ได้ยืนยันตัวตนเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่ตรวจจับและส่งสัญญาณไปให้อุปกรณ์แจ้งเตือน ตัวระบบใช้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและมีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ
Khunying Long Athakravisunthorn Learning Resources Center,Prince of Songkla University has kept the number of traffic throughout the year the data were analyzed and used to work in the next year. Smart gate made using the two channel barrier Members will need to verify their identity before entering . To stand still is to classify the identity of the subscriber.The Webcam to take pictures to use in comparison with the database. And three known photos backwards. Gate Sensor to count the number of people walking through. When walking through the door without authentication Sensor will sound an alarm. The system uses computer software to control the device operation is automatic.
Full Text:
PDFReferences
บัญชา ปะสีละเตสัง. (2551). พัฒนาเว็บด้วยเทคนิค Ajax และ PHP. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย.กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
พรชนิตว์ ลีนาราช.(2555).รูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการวิจัยสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทยวิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สาธิต ชัยวิวัฒน์ตระกูล (2547). เติมเทคนิค MySQLให้เต็มประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2556).คลังข้อมูลผลงานวิชาการของนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่เผยแพร่ในฐานข้อมูลสากล. ค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2556 จาก http://library.cmu.ac.th/scholarly
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2548). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com