1 หัวเรื่องภาษาไทยเปรียบเทียบกับหัวเรื่องภาษาอังกฤษของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน : กรณีศึกษาคำศัพท์สาขาหลัก และคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับ NT1 | Comparison of Thai Subject Headings and Library of Congress Subject Headings: A Case Study of Terms Related to Main Subject Fields and Their First Level of Narrower Terms (NT1) | สุธรรม อุมาแสงทองกุล | PULINET Journal

หัวเรื่องภาษาไทยเปรียบเทียบกับหัวเรื่องภาษาอังกฤษของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน : กรณีศึกษาคำศัพท์สาขาหลัก และคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับ NT1 | Comparison of Thai Subject Headings and Library of Congress Subject Headings: A Case Study of Terms Related to Main Subject Fields and Their First Level of Narrower Terms (NT1)

สุธรรม อุมาแสงทองกุล

Abstract


การวิจัยนี้มีแรงบันดาลใจและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาบัญชีคำหัวเรื่องภาษาไทยให้มีมาตรฐานขึ้นจากโครงสร้างศัพท์สัมพันธ์และการจัดหมวดหมู่ความรู้ตามตารางการจัดหมู่เอกสาร โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ (1) เพื่อรวบรวมชุดคำหัวเรื่องสาขาหลักหรือวิทยาการพื้นฐาน  และคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับแรก (NT1 or Narrower Terms level1)  (2) เพื่อเปรียบเทียบจำนวน
หัวเรื่องคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับแรก (NT1) ภายใต้หัวเรื่องสาขาหลัก ระหว่างหัวเรื่องภาษาอังกฤษและไทย  วิธีการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเอกสาร ประชากรคือหัวเรื่องภาษาอังกฤษ และหัวเรื่องไทย แหล่งข้อมูลคือฐานข้อมูล Library of Congress Subject  Headings ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทย 2 ฐาน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบฟอร์มบันทึกข้อมูลเปรียบเทียบหัวเรื่องที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ฐานข้อมูลและโปรแกรมจัดการบัญชีหัวเรื่องแบบศัพท์สัมพันธ์ Red_demo โปรแกรม CDS/ISIS, Microsoft Excel  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยผลการศึกษา  พบว่า

          1. ชุดคำหัวเรื่องสาขาหลักรวบรวมเป็นหัวเรื่องหลักได้ 261 คำ และชุดคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับ NT1 รวบรวมได้ 11,108 คำ เฉลี่ย 42.56 คำต่อหัวเรื่องหลัก  คำหัวเรื่องหลักนี้เป็นคำในกลุ่มหรือสาขาวิชา 41 กลุ่มตามแนวทางโครงสร้างระบบทศนิยมดิวอี้ (เช่น 001 วิธีวิทยาและการวิจัย 004 วิทยาการคอมพิวเตอร์ 020 สารสนเทศศาสตร์ 070 วารสารศาสตร์ 100 ปรัชญา 200 ศาสนา ฯลฯ)

          2. การเปรียบเทียบจำนวนหัวเรื่องคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับ NT1 ภายใต้หัวเรื่องสาขาหลัก ระหว่างหัวเรื่องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  พบว่า หัวเรื่องภาษาอังกฤษ 11,108 คำ  เป็นหัวเรื่องที่กำหนดเป็นคำภาษาไทยตามคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย คณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (หัวเรื่องเล่มแดง) แล้ว จำนวน 3,457 คำ  (ร้อยละ 32.25) (ประมาณ 1/3)  เป็นหัวเรื่องที่กำหนดเป็นคำภาษาไทยตามคู่มือหัวเรื่องภาษาไทย Red_demo แล้ว และไม่ซ้ำข้างต้น จำนวน 3,353 คำ  (ร้อยละ 31.25) (ประมาณ 1/3)  รวมหัวเรื่องไทยตาม 2 คู่มือจำนวน 6,810 คำ (ร้อยละ 63.50) (ประมาณ 2/3) และหัวเรื่องที่ยังไม่ได้กำหนดคำภาษาไทยจำนวน 4,298 คำ (ร้อยละ 36.50) (ประมาณ 1/3) 

          3. หัวเรื่อง NT1 ที่กำหนดคำภาษาไทยแล้วที่มีสัดส่วนคำภาษาไทยมากกว่าร้อยละ 70 มี 17 สาขา และที่มีน้อยกว่าร้อยละ 70 มี 24 สาขา  การทดสอบสมมติฐานที่ว่า “หัวเรื่องคำศัพท์สัมพันธ์แคบกว่าในระดับ NT1 ภายใต้หัวเรื่องสาขาหลักที่เป็นภาษาอังกฤษและมีหัวเรื่องภาษาไทยเทียบเคียงแล้ว มีไม่น้อยกว่าร้อยละ 70”  พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมคือ 63.50 จึงปฏิเสธสมมติฐาน นั่นคือจำนวนหัวเรื่องภาษาไทยมีไม่ถึงเกณฑ์ที่วางไว้


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com