1 การรู้สารสนเทศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | Information Literacy of Students, Ubon Rachathani University | มะลิวัลย์ สินน้อย | PULINET Journal

การรู้สารสนเทศ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | Information Literacy of Students, Ubon Rachathani University

มะลิวัลย์ สินน้อย, อนวัช กาทอง

Abstract


การวิจัยเรื่องการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสามารถด้านการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  เปรียบเทียบความสามารถด้านการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ศึกษาปัญหาการรู้สารสนเทศของนักศึกษาด้านแหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ และปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีภาคการศึกษาที่ 2 / 2558 ที่มาใช้บริการ ณ สำนักวิทยบริการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้สารสนเทศเพื่อสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต หรือ เวิลด์ไวด์เว็บ (World wide  web) ความถี่ในการใช้ทุกวัน / เกือบทุกวัน ร้อยละ 60.08 การสืบค้นสารสนเทศจากประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ  จำนวน 352 คน ร้อยละ 68.88 มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุด การศึกษาข้อมูล การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์และการเขียนบรรณานุกรม จากการเข้าร่วมอบรมการรู้สารสนเทศของสำนักวิทยบริการ ร้อยละ 55.78 มีวัตถุประสงค์ในการใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าหนังสือหรือตำราทางวิชาการ ร้อยละ 77.70 มีประสบการณ์ในการเรียนรู้ ฐานข้อมูล ThaiLis (TDC) ร้อยละ 59 มีประสบการณ์ความรู้จากการเรียนรู้มาจาก Web site ทั่วไป ร้อยละ 50.10 ส่วนความสามารถในการกำหนดความต้องการสารสนเทศ พบว่าจากมาตรฐานที่ 1 ความสามารถ ในการกำหนดความต้องการสารสนเทศนักศึกษามีความสามารถในการกำหนดความต้องการด้านการรู้สารสนเทศในระดับมากทุกเรื่อง ดังนี้ สามารถกำหนดคำค้น หรือหัวข้อ ของสารสนเทศที่จะต้องการใช้ได้อย่างชัดเจน  สามารถรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นโดยสอบถามจากผู้รู้ เช่น อาจารย์ บรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ เพื่อให้เข้าในเรื่องที่ต้องการค้นคว้าศึกษา และรู้จักและเข้าใจวิธีการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ เช่น e-Book  e-Journal ส่วน ความสามารถในการใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ นักศึกษามีความสามารถในการใช้แหล่งและทรัพยากรสารสนเทศ มีระดับความสามารถด้านการรู้สารสนเทศระดับมากในเรื่อง ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศ ที่มีข้อมูลในการประกอบการเรียน การทำรายงาน และการทำวิจัย ส่วนความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศ นักศึกษามีระดับความสามารถในการสืบค้นสารสนเทศในระดับมาก สามารถค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จาก Web site ที่ต้องการได้โดยใช้เครื่องมือช่วยค้น โดยใช้ Search engine เช่น Google Yahoo ทั้งนี้นักศึกษาระดับปริญญาตรี และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีการรู้สารสนเทศไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาและอุปสรรคในการรู้สารสนเทศด้านฐานข้อมูล ด้านเครือข่าย และด้านการรู้สารสนเทศของนักศึกษาพบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com