1 Library Co-creation via Crowdsourcing | อัคริมา สุ่มมาตย์ | PULINET Journal

Library Co-creation via Crowdsourcing

อัคริมา สุ่มมาตย์, นิติยา ชุ่มอภัย

Abstract


สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้เครื่องมือ Crowdsourcing ในการรับฟังเสียงผู้ใช้บริการ หลักการของ Crowdsourcing คือแทนที่จะมอบให้บุคคลหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำการพัฒนาอะไรใหม่ขึ้นมา หรือทำการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กลับเปิดโอกาสให้ฝูงชนหรือสาธารณชนทั่วไปได้มีโอกาสในการคิดการตัดสินใจแทน สำนักหอสมุดจึงนำแนวคิดนี้มาเพื่อให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์ Content หรือที่เรียกว่า Co-Creation เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) เน้นการติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความคิด ความต้องการ ความคิดเห็นระหว่างกัน เพื่อทำให้เกิดคุณค่าเพิ่มในรูปแบบของสินค้า บริการ หรือประสบการณ์ร่วม ด้วยการนำแนวคิด Framework for Building a Co-creation Capability มาดำเนินการได้แก่ 1. การรับฟัง (Listen) ด้วยการใช้ Crowdsourcing 2. ความผูกพัน (Engage) ด้วยการให้ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการออกแบบบริการ 3. การตอบสนอง (Respond) เพื่อสร้างสรรค์บริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการและเกิดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง สำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานแรกที่นำเครื่องมือ Crowdsourcing มาใช้ในการรับฟังเสียงผู้ใช้บริการห้องสมุดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน จากการสอบถามจำนวน 9 ครั้ง มีผู้มาร่วมตอบจำนวน 7505 ครั้ง ได้แนวคิดหรือไอเดียต่างๆกว่า 206 ไอเดีย ไอเดียที่ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการเสนอถูกนำมาออกแบบบริการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในห้องสมุดจริง และตรงกับความต้องการของ ภายใต้บริบทของการดำเนินงานห้องสมุดที่เป็นไปได้จริง ซึ่งเป็นที่สนใจของคณะผู้ศึกษาดูงานจากหลายแห่งที่ให้ความสนใจในรูปแบบของการนำ Crowdsourcing มาใช้งานที่สามารถนำไปปรับใช้ในงานห้องสมุดได้ง่ายดาย โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และยังเพิ่มภาพลักษณ์ในงานห้องสมุดให้ดูทันสมัยในมุมมองของผู้ใช้บริการ


Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com