1 การพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร | Quality Assurance System Development of The Central Library, Silpakorn University | ณัชชา มณีวงศ์ | PULINET Journal

การพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร | Quality Assurance System Development of The Central Library, Silpakorn University

ณัชชา มณีวงศ์

Abstract


งานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เทียบเคียงสมรรถนะด้านผลการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร กับ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) ศึกษาวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในการประกันคุณภาพการศึกษา ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร  การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยดำเนินการวิจัยในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2557  กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษา  ของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสำนัก   วิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นองค์กรที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศในด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2555 ได้รับคะแนนประเมินอยู่ในระดับดีมาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การจำแนกประเภทข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล การสร้างข้อมูลเชิงอุปนัย การวิเคราะห์เนื้อหา  การวิเคราะห์ช่วงห่าง

ผลการวิจัยพบว่า

          1. การเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ด้านผลการประกันคุณภาพการศึกษา โดยใช้คะแนนประเมินตามเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) พบว่า ตัวบ่งชี้ของสำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่มีคะแนนการประเมินต่ำกว่าองค์กรที่เทียบเคียงร้อยละ 40 คือ ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ภาวะผู้นำสภาสถาบันและผู้บริหารทุกระดับของสถาบัน 7.4 ระบบบริหารความเสี่ยง และ 8.1 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

           2. วิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการประกันคุณภาพการศึกษาของศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี แลสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่า ประกอบด้วย การสร้าง การจัดทำ การประสานงาน การกำกับติดตาม การสรุปผล และการปรับปรุงพัฒนา    

            3. แนวทางการพัฒนาระบบการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษา สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นแนวทางการพัฒนาตามหลัก PDCA คือ 1) การวางแผน (Plan) ประกอบด้วย การกำหนดแผนการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ 2) การดำเนินงานตามแผน (Do) ประกอบด้วยการปฏิบัติงานตามแผนโดยเน้นการทำงานเป็นทีม 3) การตรวจสอบ (Check) ประกอบด้วย การตรวจสอบผลการปฏิบัติงานและ 4) การปรับปรุง (Act) ประกอบด้วยการนำผลจากการตรวจสอบมาปรับปรุงการปฏิบัติงาน


Full Text:

PDF

References


คณะกรรมการการอุดมศึกษา,สำนักงาน. (2551). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, ยุวดี ผลพันธิน, พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2556). รายงานการวิจัยการพัฒนาระบบการบริหารงานการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บุญดี บุญญากิจ และ กมลวรรณ ศิริพานิช. (2548). Benchmarking : ทางลัดสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

คณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (ระดับหน่วยงาน). (2555) .รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ปีการศึกษา 2555. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2555).รายงานการประเมินตนเองวงรอบปีการศึกษา 2555สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอกธิป สุขวารี . (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

วิมล นาวารัตน์. วงจรเดมมิ่ง PCDA . [สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/419715


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com