1 ศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศเชิงรุกฉับไว ทันใจผู้ใช้บริการ | Development of Express Proactive Information Service to Meet User needs | น้ำลิน เทียมแก้ว | PULINET Journal

ศึกษาการพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศเชิงรุกฉับไว ทันใจผู้ใช้บริการ | Development of Express Proactive Information Service to Meet User needs

น้ำลิน เทียมแก้ว, รุ่งเรือง สิทธิจันทร์

Abstract


การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศเชิงรุกฉับไว ทันใจผู้ใช้บริการเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการใช้บริการสารสนเทศ 2) เพื่อพัฒนาบริการสารสนเทศเชิงรุก และ 3) เพื่อพัฒนานวัตกรรมบริการสารสนเทศเชิงรุก ให้แก่นิสิตศูนย์พัฒนาการศึกษานอกที่ตั้งห้องเรียน แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการใช้บริการสารสนเทศ กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 326 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า นิสิตใช้บริการอยู่ในระดับมาก ได้แก่บริการ Document Delivery (X = 3.88) ดาวน์โหลดวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม ( X= 3.83)  และใช้บริการตอบคำถามช่วยการค้นคว้าเมื่อเกิดปัญหา (X = 3.69)  ปัญหาพบว่าผู้ใช้ไม่สะดวกในการเดินทางมาใช้บริการ  ขาดทักษะในการสืบค้น และไม่ทราบแหล่งสารสนเทศ  ระยะที่ 2 การพัฒนาบริการเชิงรุกโดยจัดโครงการ Proactive Information Services  กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตปริญญาโท ศูนย์พัฒนาการศึกษาจังหวัดอุดรธานี คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามจำนวน 167 คน  โดยใช้แบบสอบถาม ผลการพัฒนาพบว่า นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการเชิงรุก โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X= 4.11) โดยผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ (X = 4.48) และได้รับความรู้หลังเข้าร่วมโครงการ (X = 4.30) และเสนอแนะให้มีช่องทางในการขอใช้บริการผ่านระบบออนไลน์  และระยะที่ 3 พัฒนานวัตกรรมบริการสารสนเทศเชิงรุก คือ ระบบ One Stop Service Online เพื่อให้ผู้ใช้สามารถขอใช้บริการได้โดยไม่ต้องเดินทางมาใช้บริการด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมายคือ นิสิตปริญญาโท ศูนย์พัฒนาการศึกษาจังหวัดอุดรธานี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน  45 คน  โดยใช้แบบสอบถาม ผลการพัฒนาระบบพบว่านิสิตมีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X= 4.80) โดยนิสิตได้รับบริการที่ถูกต้อง แม่นยำ ตรงตามความต้องการ ( X=4.87) ระยะเวลาขั้นตอนการขอรับบริการเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน และได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ( X=4.81) ดังนั้นผลจากการพัฒนารูปแบบการบริการทั้ง 3 ขั้นตอน พบว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับห้องสมุดต่างๆ เพื่อการบริการสารสนเทศแก่นิสิตศูนย์พัฒนาการศึกษานอกที่ตั้งมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี

Full Text:

PDF

References


น้ำลิน เทียมแก้ว. (2554). การศึกษาความต้องการและการใช้สารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาฝ่ายการจัดการศึกษานอกที่ต้องห้องเรียน และศูนย์พัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

_______. (2555). การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สำนักวิทยบริการ. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการ Proactive Information Services. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2551). การสร้างบริการเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 21(1), 1-19.

ศุจินันท์ กาศลุน. (2552). การประเมินคุณภาพบริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภรณ์ อ่อนนวล. (2548). การใช้สารสนเทศของอาจารย์สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, คณะศิลปศาสตร์, สาขาสารสนเทศศาสตร์


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com