1 การใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศ สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย: ประสบการณ์จากความร่วมมือแบบไตรภาคี | The Use of Dialogue and Deep Listening to Enhance Information Literacy Skills for Gen Y: The Experiences of Trilateral Cooperation | โชคธำรงค์ จงจอหอ | PULINET Journal

การใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้งเพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศ สำหรับเจนเนอเรชั่นวาย: ประสบการณ์จากความร่วมมือแบบไตรภาคี | The Use of Dialogue and Deep Listening to Enhance Information Literacy Skills for Gen Y: The Experiences of Trilateral Cooperation

โชคธำรงค์ จงจอหอ, ยศยาดา สิทธิวงษ์

Abstract


บทความนี้นำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดบทเรียนที่ได้จากการส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศ โดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ (Preparing phase) ขั้นปฏิบัติการ (Action phase) และขั้นรับผลร่วมกัน (Reflection phase) ซึ่งเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่กลั่นตัวมาจากความร่วมมือกันแบบไตรภาคีระหว่างนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน และบรรณารักษ์ โดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงสรุปแบบอุปนัย ซึ่งเป็นการตีความข้อมูลจากมุมมองและประสบการณ์ร่วมของนักศึกษา อาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์ ที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และใช้การนำเสนอผลแบบพรรณนา ผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมช่วยให้ผู้ร่วมกิจกรรมทุกฝ่ายเปิดใจรับฟังกันและกันมากยิ่งขึ้น ช่วยให้มุมมองในการจัดบริการสารสนเทศของห้องสมุด และเผยให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการรู้สารสนเทศที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของคน Gen Y



Full Text:

PDF

References


กลุ่มภารกิจส่งเสริมการเรียนรู้. (2557). โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยใช้กิจกรรมสุนทรียสนทนาและการฟังอย่างลึกซึ้ง. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (อัดสำเนา).

ทิพย์วัลย์ ตุลยะสุข & คณะ. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชา 412 102 การรู้สารสนเทศ. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการณ์การพิมพ์.

ปาริชาต เสารยะวิเศษ, สมาน ลอยฟ้า, & ดุษฎี อายุวัฒน์ (2553). ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้สารสนเทศของนักเรียนระดับประถมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 2, (1): 73-96.

เพ็ญพันธ์ เพชรศร & คณะ. (2552). เอกสารประกอบการเรียนรู้วิชา 000130 ทักษะการรู้สารสนเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ภรณี ศิริโชติ & คณะ. (2543). เอกสารประกอบการสอนวิชา 412 102 ห้องสมุดและวิธีค้นคว้า. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริรัตน์ จำปีเรือง, อมรรัตน์ วัฒนาธร, พูลสุข หิงคานนท์, & วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2556). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนาสำหรับนักศึกษาพยาบาล.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 15, (3):9-15.

สมาน ลอยฟ้า. (2545). การสอนการใช้ห้องสมุด: พัฒนาการและแนวโน้ม. วารสารห้องสมุด 46, (2):20-30.

สันทนา กูลรัตน์. (2556). สภาพและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างอาจารย์และบรรณารักษ์ในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 7, (2): (บทคัดย่อ).

สุพิศ ศิริรัตน์, ชุติมา สัจจานันท์, & พวา พันธุ์เมฆา. (2555). การรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารบรรณศาสตร์ 5, (1) : 27-38.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com