1 การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย | Prompt for change of State University Libraries in Thailand | รัชนีกรณ์ อินเล็ก | PULINET Journal

การพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดมหาวิทยาลัยไทย | Prompt for change of State University Libraries in Thailand

รัชนีกรณ์ อินเล็ก

Abstract


ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรจากพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและจากการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาของสถาบันต้นสังกัดส่งผลให้ห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง  การทราบสภาพปัจจุบันขององค์กรจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถวางแนวทางการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรตนเองได้  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยจากเอกสาร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรของห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยจากดุษฎีนิพนธ์ระดับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่จัดทำระหว่างปีพ.ศ. 2552 – 2555 จำนวน 9 ฉบับ การวิเคราะห์เนื้อหาใช้โมเดลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในองค์กรของ Bryson (1999) พบว่าห้องสมุดมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยมีประสิทธิภาพพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในด้านเป้าหมายและคุณค่าขององค์กร และกระบวนการทำงานภายในห้องสมุดที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ วิธีการทำงาน และคนในกระบวนการทำงานเพื่อขับเคลื่อนสารสนเทศให้บรรลุผลตามเป้าหมาย แต่ต้องพัฒนาทักษะการทำงานของบุคลากรให้สอดคล้องกับงานห้องสมุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป และยังต้องพัฒนาองค์กรในด้านระบบการบริหารจัดการห้องสมุด ระบบโครงสร้างองค์กรห้องสมุด และกระบวนการทางสังคมจิตวิทยาในห้องสมุด


Full Text:

PDF

References


จุฑารัตน์ นกแก้ว. (2554). วัฒนธรรมบริการของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บรรจง เขื่อนแก้ว. (2552). รูปแบบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปิยสุดา ตันเลิศ. (2553). การพัฒนากรอบสมรรถนะหลักของนักวิชาชีพสารสนเทศ สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา

ไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2553-2562). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2555). รูปแบบการจัดบริการสนับสนุนการวิจัย สำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรทิพา ดำเนิน. (2552). รูปแบบความร่วมมือของห้องสมุดในฐานะแหล่งเรียนรู้ชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศุมรรษตรา แสนวา. (2552). แนวทางการพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไปสู่องค์การคุณภาพ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สัจจารีย์ ศิริชัย. (2552). การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bryson, J. (1990). Effective library and information centre management. Aldershot, England : Gower.

Darga, R. & Hu, S. (2012). A case study of changing management: how we radically evolved library processes from information technology impact. Retrieved on 14 August 2014 from http://conference.ifla.org/ifla78

Jain, P. (2013). A paradigm shift in the 21st century academic libraries and librarians: prospectus and

opportunities. European Journal of Academic Research, 1(3), 133-147.

Lo, L. (2008). How do academic libraries manage change in the 21st century? Journal of East Asian Libraries. 145 (June), 45-60.

Organization for Economic Co-Operation and Development. (1996). The Knowledge-Based Economy. Paris: OECD.

Sveiby, K.-E., & Simons, R. (2002). Collaborative climate and effectiveness of knowledge work – an

empirical study. Journal of Knowledge Management, 6(5), 420–433.

VanDuinkerken, W., & Mosley, P.A. (2011). The challenge of library management : leading with emotional engagement. Chicago : American Library Association.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com