1 บรรณารักษ์ยุคใหม่ เพื่อผู้รับบริการรุ่นใหม่ | Cybrarian of KKU Library for New Generation Users | นิติยา ชุ่มอภัย | PULINET Journal

บรรณารักษ์ยุคใหม่ เพื่อผู้รับบริการรุ่นใหม่ | Cybrarian of KKU Library for New Generation Users

นิติยา ชุ่มอภัย, อัคริมา สุ่มมาตย์, กิตติยา สุทธิประภา

Abstract


          สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ปรับกลยุทธ์การบริหารจัดการห้องสมุด ให้เป็น  “แหล่งเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่” หรือ KKU Library for New Gen สำนักวิทยบริการจึงได้จัดทีมบรรณารักษ์ โดยมีชื่อว่า Cybrarian of KKU Library โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรณารักษ์มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดการบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และสำรวจความต้องการของกลุ่มผู้รับบริการคนรุ่นใหม่มาสร้างบริการใหม่ๆ ให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการของ Cybrarian Team ผู้บริหารให้นโยบาย ว่าเป็นบรรณารักษ์ที่สามารถวิเคราะห์ความต้องการใช้ห้องสมุดของกลุ่มผู้ใช้บริการบนสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาออกแบบและพัฒนาบริการของห้องสมุดต่อไป เพราะ Cybrarian Team จะเป็นบุคคลที่จะนำส่งบริการ กิจกรรม การตอบข้อโต้แย้งหรือข้อร้องเรียนต่างๆผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือแม้กระทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้บริการทั้งในทางตรงและทางอ้อม  Cybrarian Team ได้มีการประชุม หารือ และวางแผนการดำเนินงาน โดยมีการนำหลักการแบบเพื่อนแนะนำเพื่อน เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิดของผู้รับบริการ โดยได้ดำเนินการดังนี้ 1) ผลิตสื่อแผ่นพับที่ทันสมัยน่าสนใจเพื่อดึงดูดความสนใจ และนำเทคโนโลยี QR Code มาช่วยให้เข้าถึงบริการได้สะดวกรวดเร็ว  2) มีส่วนร่วมกับกิจกรรมของคนรุ่นใหม่ เพื่อแนะนำบริการต่างๆของห้องสมุดกับกิจกรรม Cybrarian@ค่ายน้องใหม่57 ซึ่งเน้นให้น้องใหม่กว่า 6,500 คน ได้รับทราบบริการต่างๆของห้องสมุด 3) สำรวจแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่มีต่อบรรณารักษ์ ทั้งการสัมภาษณ์โดยตรงและการจัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 4) ติดตามข้อร้องเรียน ข้อคำถามต่างๆผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มใน Facebook ของประชาคมมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มีชื่อว่า KKU Group เพื่อให้การจัดการข้อร้องเรียนมีประสิทธิภาพสูงสุด 5) จัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์ โดยสร้างปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ใช้บริการด้วยการพูดคุย สอบถาม แบบไม่เป็นทางการเพื่อทราบแรงจูงใจที่ทำให้มาใช้ห้องสมุด ตลอดจนสอบถามความต้องการต่างๆที่อยากให้ห้องสมุดจัดให้ 

การดำเนินการเหล่านี้เป็นการปรับภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์ยุคใหม่ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการกับผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น ทำให้ทราบความต้องการของผู้ใช้ต่อบริการ พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะมาออกแบบและพัฒนาบริการต่อไป การปรับเปลี่ยนทัศนคติและภาพลักษณ์ของบรรณารักษ์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการให้บริการคนรุ่นใหม่ ซึ่งจะเน้นการบริการเชิงรุก การบริการเหนือความคาดหมาย บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องรับฟังความคิดเห็นเป็นผู้ฟังเป็นเสมือนเพื่อนคู่คิดกับผู้ใช้บริการสร้างความเป็นกันเองให้มากขึ้น Cybrarian Team จึงเป็นทีมที่สนับสนุน ขับเคลื่อนการทำงานต่างๆของห้องสมุดเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับมาส่งต่อฝ่ายต่างๆของห้องสมุดให้ทำงานให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรต่อไป


Full Text:

PDF

References


ทรงพันธ์ เจิมประยงค์. (2557). การให้บริการห้องสมุดสมัยใหม่: แนวโน้มในปัจจุบันและความท้าทายในอนาคต. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 จาก, http://main.library.tu.ac.th/conference2014/pdf/modern-ppt.pdf

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักวิทยบริการ. (2556). แผนยุทธศาสตร์การบริหาร สำนักวิทยบริการ (สำนักหอสมุดและทรัพยากรการเรียนรู้) มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2556 – 2559. ขอนแก่น: สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไลบราเลี่ยนฮับ. (2552). บรรณารักษ์ยุคใหม่สไตล์ Cybrarian. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 จาก, http://www.libraryhub.in.th/2009/06/10/librarian-new-style-in-cybrarian/

ศศิธร ติณะมาศ. (2552). พฤติกรรมผู้ใช้ในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 จาก, https://www.gotoknow.org/posts/289641

สำนักบรรณาสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2014). จัดบริการห้องสมุดอย่างไร เข้าถึงใจ...เข้าถึงGens. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2557 จาก, http://library.stou.ac.th/blog/?p=4565


Refbacks

  • There are currently no refbacks.



PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com