การพัฒนาระบบห้องสมุดเสมือน 3 มิติ โดยใช้ Google API | 3D Virtual Library Development Using Google API
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาระบบห้องสมุดเสมือนสามมิติสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อการใช้ระบบกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ใช้บริการที่เข้าใช้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 300 คน และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย ระบบห้องสมุดเสมือนสามมิติสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าผู้ปฏิบัติงานได้ประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด โดยประเมินผลจากด้านประสิทธิภาพของระบบงาน และด้านการแสดงผล และมีความพึงพอใจต่อระบบห้องสมุดเสมือนสามมิติอยู่ในระดับมากถึงระดับมากที่สุดและผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจต่อระบบห้องสมุดเสมือนสามมิติสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยรวมอยู่ในระดับมากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาระบบห้องสมุดเสมือนสามมิติสามารถช่วยค้นหาและนำพาไปยังตำแหน่งสารสนเทศได้เร็วมากยิ่งขึ้นโดยนำเสนอในรูปแบบโมเดลสามมิติและเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการที่ไม่คุ้นเคยกับสำนักวิทยบริการและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการแนะนำสารสนเทศภายในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามต่อไป
The purposes of this research are to develop the 3D virtual library system for the Academic Resource Center Mahasarakham University. And to study user satisfaction with the system. The sample consisted of a total of 300 users, and 30 library staffs. Research tools used included 3D virtual library system of the Academic Resource Center Mahasarakham University and the users satisfaction questionaire.The statistics used in data analysis were mean and standard deviation. The results showed that the library staffs operational evaluation in the highest level on the performance and the display of the system and satisfied with 3D virtual library system of the Academic Resource Center Mahasarakham University overall at the high level. The findings show that the development of 3D virtual library can help users finding information more quickly by presenting in threedimensions. And more convenience to users who are not familiar with the Academic Resource Center, therefore increase the optimization to the information services of the Academic Resource Center, Mahasarakham University in the future.
Full Text:
PDFReferences
กิตติมศักดิ์ ในจิต. (2553). การพัฒนาระบบห้องสมุดเสมือนออนไลน์เพื่อการสืบค้นสื่อประสมและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 6 (12), 45-50.
ศานติ เจริญวงศ์. (2551). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์บ้านเรือนไทยอีสานในรูปแบบ 3 มิติ. ปริญญานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสื่อนฤมิต คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2548). รายงานการวิจัยเรื่องการวิจัยและพัฒนาเว็บเพจสำหรับแนะนำมหาวิทยาลัย มหาสารคามในรูปแบบ 3 มิติ. คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Enji, S., Nieto, A., & Zhongxue, L. (2009, 26-29 Nov. 2009). Real-time Google Earth 3D assisted driving system in surface mining operations. Paper presented at the Computer-Aided Industrial Design & Conceptual Design, 2009. CAID & CD 2009.IEEE 10th International Conference on.
Haifeng, H., & Wei, L. (2011, June 29 2011-July 1 2011).Development of three dimensional digital tourism presentation system based on Google Earth API. Paper presented at the Spatial Data Mining and Geographical Knowledge Services (ICSDM), 2011 IEEE International Conference on.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
PULINET Journal : eISSN 2351- 048X
ข่ายงานห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
PULINET: Provincial University Library Network
pulinetjournal@gmail.com